รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา An Effective Administration Model for Educational Quality Assurance in Basic Education Schools

Main Article Content

สมยงค์ แก้วสุพรรณ Somyong Keawsuphan

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผลประการที่สอง เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา และประการที่
สามเพื่อทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์รูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล
ประชากร คือ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดขอนแก่น ที่มีผลการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ทุกมาตรฐานในระดับดีขึ้นไป ระยะที่ 2 สร้าง
รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้การสนทนากลุ่มและระดมสมอง เพื่อให้ได้รูปแบบที่ครอบคลุมมาตรฐานด้านผู้เรียน ครู และผู้บริหาร และระยะที่ 3 ทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบ
การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ประชากร คือ สถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบมีจุดมุ่งหมาย
โดยเป็นโรงเรียนที่มีผลการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) รอบ 2ในระดับปรับปรุงหรือระดับพอใช้ ตั้งแต่ 1 มาตรฐานขึ้นไป จำนวน 13 โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผลได้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ประสบผลสำเร็จ และปัจจัยเชิงสาเหตุที่สำคัญจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร ทฤษฎี ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
และการศึกษาสภาพจริงของสถานศึกษา จากการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้ง 12 โรงเรียน พบว่า แต่ละโรงเรียนได้แบ่งการบริหารงานออกเป็น 4 ฝ่าย คือ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานงบประมาณและการบริหารงานบริหารทั่วไป
และมีปัจจัยเชิงสาเหตุ 6 ด้าน คือ ผู้บริหาร ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชน
2. การสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาได้โครงการทั้งหมด จำนวน 38 โครงการ แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ มาตรฐานด้านผู้เรียน จำนวน 22 โครงการ มาตรฐานด้านครู 8 โครงการ และ
มาตรฐานด้านผู้บริหาร 8 โครงการ ซึ่งแนวทางการใช้แต่ละโครงการดำเนินการตามระบบวงจรคุณภาพ PDCA
3. การประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า มาตรฐานด้านผู้เรียน ครู และผู้บริหาร อยู่ในระดับดี
The research aimed to: firstly, analyze an effective administration model for educational
administration, secondly, design an effective model for educational administration in basic education
schools, and thirdly, implement and evaluate the effective administration models for educational quality
assurance in basic education schools. The research was divided into three phases. The first phase was
to analyze the effective administration models for educational administration. The second phase was to
create the model for educational administration in basic education schools using focus group and brain
storming to cover the standard of learner, teacher, and administrator. The third phase was to implement
and evaluate the results of the effective administration models for educational administration. The
subjects, selected through the purposive sampling, were 13 basic education schools under Khon Kaen
Basic Educational Service Area Office 2. The level of education quality assessed by the Office for
National Education Standards and Quality Assessment on the second round was fair. The results of the
research indicated that the model was designed based on focusing group and brainstorming process
covering the standards of teachers, students and administrators.
Results of this research were as follows:
The concepts of an effective model for educational administration were adopted from the
synthesis of documents, theories, research and actual situation. The finding indicated that the
administrative structure of 12 basic education schools consisted of 4 divisions: academic administration,
personnel administration, financial administration and general administration. Six casual factors were
administrators, teachers, students, committee of basic education, parents and communities.
The model of educational administration for basic education consisted of 38 projects of basic
education assurance focusing on 3 standards: student standard with 22 projects, teacher standard with
8 projects and administrators with 8 projects. The projects were operated by PDCA system.
In regard to the intervention and evaluation, it revealed that the standard of students, teachersand administrators was good.

Article Details

บท
บทความวิจัย