บทบาทความสัมพันธ์ของกระบวนการจัดการความรู้ที่มีต่อประสิทธิภาพ ของการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศการจัดการทางการเงินของรัฐบาล Role in Relation to Knowledge Management Process to Efficiency of Government Financial Management Information System Application

Main Article Content

ไพวรรณ เทือกกอง Priwan Thuakkong

บทคัดย่อ

การศึกษาความสัมพันธ์ของกระบวนการจัดการความรู้ที่มีต่อประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการเงินของรัฐบาล (Government financial management system : GFMIS) เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์
ประการแรกเพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินกิจกรรมการจัดการ ประการที่สองศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดการและประการที่สามศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการจัดการความรู้และประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ
ทางการเงินของรัฐบาล : จังหวัดกาฬสินธุ์ สุ่มตัวอย่างเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานโครงการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารการเงิน การคลัง ภาครัฐเข้าสู่ระบบสารสนเทศทางการเงินของส่วนราชการระดับหน่วยเบิกจ่าย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 193 ตัวอย่าง
เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มตัวอย่างของผู้ปฏิบัติงานระบบ GFMIS จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 26-35 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีสถานภาพในองค์กรเป็นข้าราชการ มีประสบการณ์การทำงาน 1-5 ปี และมีระยะเวลาการใช้ระบบ
GFMIS 2–4 ปี ความสัมพันธ์ของกระบวนการจัดการความรู้ที่มีต่อประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการเงินของรัฐบาลโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การเผยแพร่ความรู้ การใช้ความรู้ การค้นหาความรู้
ความโปร่งใส เวลา อยู่ในระดับมาก ส่วนการสร้างความรู้ การประมวลผลความรู้ ความถูกต้องของสารสนเทศ และค่าใช้จ่ายพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง มีความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้และประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ
ทางการเงินของรัฐบาลที่ระดับมากปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการจัดการความรู้และประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้สารสนเทศทางการเงินของ
รัฐบาล คือ การประมวลผลทางระบบล่าช้าในการปฏิบัติงาน บางหน่วยงานมีความเข้าใจสารสนเทศไม่เพียงพอมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาก เป็นค่ากระดาษ หมึกพิมพ์ จากการเรียนรู้โดยการลองผิดลองถูก กับระบบงานใหม่

The present study is a survey research by nature aiming at studying threefold: 1) studying thesituation of management activity operation in knowledge management and the efficiency of governmentfinancial management information systems (GFMIS) in Kalasin province; 2) studying the relationshipbetween knowledge management process and the efficiency of government financial managementinformation systems; and 3) exploring the problems and barriers related to knowledge management
and the efficiency of government financial management information system application. The research
subjects under the present study were 193 officers working in the project of adaptation for government financial management system and government financial management system treasury to financialinformation system in Kalasin Province. The instrument used for data collection was a rating scale
questionnaire. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard
deviation and Pearson Moment Product correlation.
The results were as follows:The officers who had operated GFMIS were female with 26-35 years of age, obtaining a
Bachelor degree or equivalent, working as government officials, with 1-5 years of work experience, and
2-4 years experience in using GFMIS system. The relation of knowledge management process to the
efficiency of government financial management information system application, as a whole, was at a high level. When each aspect of GFMIS was taken into consideration, it reveals that knowledge
distribution, knowledge use, knowledge search, transparency and time were at a high level. However, knowledge creation, knowledge processing, information correction, and expense were found at amoderate level. The relationship between knowledge management and the efficiency of government
financial management information system application was also at a high level.Most major problems and barriers of knowledge management and the efficiency of government
financial management information system application was a slow processing system. Some officers did
not understand the information systems. Besides, there was an increase of the expense for office
stationery and print cartridge for a process of the government financial management information system.

Article Details

บท
บทความวิจัย