การศึกษาระดับการปฏิบัติการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 A Study of Quality Assurance Performance on the Student Care and Assistance System in Schools of Kalasin Educational Service Area

Main Article Content

สมรรถชัย ศิริกุล Samatthachai Sirikun

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประการแรกเพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนประการที่สองเพื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระหว่างบุคลากรที่มี
สถานภาพต่างกันและสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันและประการที่สามเพื่อศึกษาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3–4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์เขต 1 จำนวน 271 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi–stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t – test (Independent samples) และ F-test
(One – way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า
1. การปฏิบัติการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 อยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านปัจจัยกระบวนการ และผลผลิต ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติการประกันคุณภาพระบบการดูแล
ช่วยเหลือนักเรียนทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และพบว่าโรงเรียนทุกขนาดมีการปฏิบัติการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่าง
3. สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ที่มีขนาดแตกต่างกัน มีการปฏิบัติการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยรวม ไม่แตกต่างกัน

The present study aims to investigate quality assurance performance levels of the student care
and assistance system; to compare quality assurance performance levels of the student care and
assistance system between personnel with different statuses and schools with different sizes; and to
study the administrators and instructors’ opinions and suggestions concerning quality assurance of the
student care and assistance system in schools of Kalasin Educational Service Area Office 1. The
research subjects were 271 administrators and instructors in basic education schools, grade 7th - 12th,
of Kalasin Educational Service Area Office 1 obtained using the multi-stage random sampling
technique. The instrument used in the research was a five-rating scale questionnaire containing 46
items, with a reliability of .93, on quality assurance performance of the student care and assistance
system in 3 aspects: input, process and product. The statistics used to analyze and interpret the data
were mean (EMBED Equation.3), standard deviation (S.D.), t – test (independent samples ) and F-test
One – way analysis of variance (ANOVA).
The findings of the study are as follows:
1. Both overall and specific-aspect performance levels of quality assurance of the student care
and assistance system in schools of Kalasin Educational Service Area Office 1 were high, ranging from
the highest to the lowest mean scores as input, process and product, respectively. The opinions of
administrators and teachers concerning quality assurance performance on the student care and
assistance, both overall and specific-aspect, were at a high level. Performance of the quality assurance
system in schools with all sizes, as a whole and in all aspects, were at a high level.
2. The opinions of the administrators and the teachers in schools of Kalasin Educational
Service Area Office 1 on quality assurance performance of the student care and assistance, both overall
and specific-aspect, were not different.
3. The overall performance levels of quality assurance on student care and assistance in
schools with different sizes of Kalasin Educational Service Area Office 1 were not significantly different.

Article Details

บท
บทความวิจัย