ผลการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่อการลดความเครียด ของนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 Organizing Group-relationship Activities to Reduce Tension in Grades 7th- 9th Students with Learning Problems

Main Article Content

สุวดี ปุยฝ้าย Suwadee Puyfai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประการแรกเพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และประการที่สองเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ต่อการจัดการเรียนรู่้โดยใช้แผนการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
ช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่มีความเครียดในระดับสูงมากกว่าปกติ จำนวน 80 คน เป็นนักเรียนหญิง
จำนวน 40 คน และชาย 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แผนการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ จำนวน 9 แผนแบบประเมินเพื่อวัดความเครียดและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองจากกรมสุขภาพจิต และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน
ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t–test (Independent sample) ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ของนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 ก่อนจัดกิจกรรม พบว่า นักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้มีระดับคะแนนจากการประเมินและวิเคราะห์ความเครียด โดยรวมเท่ากับ 51.19 หลังจากการจัดกิจกรรม
กลุ่มสัมพันธ์ นักเรียนมีระดับคะแนนการประเมินความเครียดลดลงค่าเฉลี่ย โดยรวมเท่ากับ 12.08 เป็นระดับความเครียดที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. ความพึงพอใจของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.71
3. นักเรียนหญิงและนักเรียนชาย ช่วงชั้นที่ 3 ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ มีระดับความเครียดที่ลดลงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The objectives of this research were to: 1) study the results of organizing group-relationship
activities to reduce tension in grades 7th-9th students who had learning problems. The research was
conducted during the second semester of the 2008 academic year at Thakhonyangpitthayakhom School
under the supervision of Maha Sarakham Provincial Administration Organization, 2) study the satisfaction of grades 7th-9th students with learning problems on learning management through
group-relationship activities. The samples consisted of 80 students: 40 male and 40 female students
with high level of tension on learning problems. The instruments used in the research were nine plans of group-relationship activities, evaluation form for tension testing and tension self-analysis form of the
Department of Mental Health and a rating scale questionnaire to investigate students’ satisfaction on
learning management using group- relationship activities. The statistics used for analyzing the data
were mean, standard deviation and t-test (Independent sample).
The major findings were shown as follows:
1) After introducing group-relationship activities to students with learning problems, it wasfound that the score of tension of the students who had learning problems decreased from 51.19
to12.08. This indicated that students’ tension was reduced as the normal level.
2) The overall level of satisfaction of grades 7th-9th students with learning problems on learning
management using group-relationship activities was at the highest level. (EMBED Equation.3 = 4.71)
3) In comparison of the decreased tension of female students with that of male students ofgrades 7th-9th who had been learning problems, it was found that the score was not different with
statistical significance at the .05 level.

Article Details

บท
บทความวิจัย