ปัญหาการดำเนินงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียน แกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 Problems of the Educational Provision Operation for Children with Special Needs in Leading Inclusive Schools in

Main Article Content

บุญเกิด วิเศษรินทอง Boonkerd Wisetrinthong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 จำแนกตามสถานภาพ
และระดับช่วงชั้น กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 33 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)และครูผู้รับผิดชอบเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 165 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random
sampling) และกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) รวม 198 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก
ระหว่าง 0.33 ถึง 0.77 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.93 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test (Independent samples) และ F-test (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัญหาการดำเนินงานจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อ
พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านคุณภาพนักเรียน ด้านปัจจัย ด้านการบริหารจัดการ และด้านกระบวนการเรียนการสอน
2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 จำแนกตามสถานภาพ และระดับช่วงชั้น ทั้งโดยรวมและ
รายด้าน พบว่า
2.1 ผู้บริหารและครูที่รับผิดชอบเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีปัญหาการดำเนินงานจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ทั้งโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 ที่เปิดสอนระดับช่วงชั้นที่แตกต่างกัน มีปัญหาการดำเนินงานจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ทั้งโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
The purposes of this study were to examine and compare problems of the educational
provision operation for children with special needs in leading inclusive schools under the Office of Maha
arakham Educational Service Area 1. This classified in status and grade level. The subjects consisted of
33 administrators selected through purposive sampling and 165 teachers who were responsible for
children with special needs selected through stratified random sampling. The sample size was set by
using Krejcie and Morgan technique. The instrument used for data gathering was a five rating scale
questionnaire with discriminating powers ranging .33-.77 and .93 of reliabilities. The statistics used for
data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The statistics used for hypotheses
testing were t-test (independent samples) and F-test (One-way Analysis of Variance).
The results of the study were as follows:
1. The overall problems of the educational provision operation for children with special needs
in leading inclusive schools regarding the opinions of educational institution administrators and teachers
who were responsible for children with special needs were at a moderate level. Considering in each
aspect, it was shown at a moderate level difference from high to low: student quality, factors,
administrative management, and learning-teaching process, respectively.
2. The comparison of educational provision operation for children with special needs in leading
inclusive schools under the Office of Maha Sarakham Educational Service Area 1 classified in status
and grade level was as follows:
2.1 The administrators and teachers who were responsible for children with special needs
were significantly different at the .01 level.
2.2 The leading inclusive schools under the Office of Maha Sarakham Educational Service
Area 1 was not significantly different.

Article Details

บท
บทความวิจัย