การศึกษากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของร้านสะดวกซื้อ จังหวัดร้อยเอ็ด A Study on Market Mix Strategy of Convenient Stores in Roi-Et Province

Main Article Content

อุษณีย์ พุกกะมาน Ussanee Phukkaman

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรกเพื่อศึกษาการใช้กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของร้านสะดวกซื้อ ในจังหวัดร้อยเอ็ด ประการที่สองเพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะข้อมูลพื้นฐานของผู้ประกอบการ ร้านสะดวกซื้อ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้กลยุทธ์
ส่วนประสมทางการตลาด และประการที่สามเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของร้านสะดวกซื้อ ในจังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อที่ตั้งร้านในจังหวัดร้อยเอ็ด และเปิด
ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 84 แห่ง จำนวนผู้ประกอบการ 74 คน การวิเคราะห์ข้อมูลแสดงเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test และ F – test (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า
ผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อ ในจังหวัดร้อยเอ็ด มีการใช้กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับมากผู้ประกอบการที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ทำเลที่ตั้ง ระยะเวลาในการดำเนินงาน แหล่งเงินทุน และขนาดเงินลงทุนต่างกัน
มีการใช้กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัญหาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การใช้กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของร้านสะดวกซื้อในจังหวัดร้อยเอ็ด มีดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ร้านสะดวกซื้อส่วนใหญ่ไม่สามารถ
จัดหาสินค้าที่มีความหลากหลาย และมีคุณภาพให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการ จึงควรหาสินค้าให้มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น ด้านราคา ร้านสะดวกซื้อมีการแข่งขันสูงในเรื่องของราคาสินค้า และต้องลดราคาสินค้าเพื่อให้สามารถ
แข่งขันกับคู่แข่งได้ จึงได้รับกำไรน้อย ร้านสะดวกซื้อในแต่ละพื้นที่ควรร่วมมือกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อไม่ให้เกิดการแข่งขันในเรื่องราคา ด้านช่องทางการจำหน่าย สินค้าจัดส่งไม่ทันเวลา ทำให้ไม่มีสินค้าไว้ให้บริการผู้บริโภค ควรได้เช็คต๊อกสินค้า
ภายในอยู่ตลอดเวลา เพื่อลดปัญหาสินค้าขาดตลาดไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ด้านการส่งเสริมการตลาด ยังไม่มีการส่งเสริมการขายด้วยวิธี ลด แลก แจก แถมโดยการโฆษณาการประชาสัมพันธ์เท่าที่ควร ควรปรับปรุง ด้านการส่งเสริม
การตลาด ด้านพนักงาน ขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่เข้าไปทำงานในกรุงเทพ ควรประสานกับกรมแรงงาน เพื่อลดปัญหาในการจัดหาแรงงาน ด้านกระบวนการบริการ ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องใช้เวลารอนานในการจ่ายเงิน ควรเพิ่มเครื่องจ่ายเงิน
และจัดวางระบบให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงาน ร้านสะดวกซื้อส่วนใหญ่จัดร้านไม่เป็นระเบียบ ควรมีการออกแบบวางผังร้านค้าให้เป็นระเบียบ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้แก่ร้าน

This research aimed to study application of the market mix strategy of convenient stores in Roi-Et Province, to compare background information and attributes of convenient stores and entrepreneursrelated to market mix strategy implementation, and to study problems and recommendations for
implementing this strategy in convenient stores in Roi-Et. The sample population consisted of 84 convenient stores, 74 entrepreneurs, presently operated in Roi-et Province. Data were analyzed through computer application and the statistics used were percentage, mean, standard deviation, t-test for
hypothesis testing, and F-test (One–way ANOVA).
Findings of the study are as follow: The overall implementation of market mix strategy of entrepreneurs was found at a high level;
entrepreneurs with different gender, age, educational level, location, operating duration, capital source, and investment size used different market mix strategies, with a statistically significant difference at the .05 level; whereas problems and recommendations on market mix strategy implementation were as follow. Regarding the product aspect, it was found that most convenient stores were unable to provide
diversification of quality goods to meet the demand of customers, therefore there should be more varieties of goods items; As for the price aspect, since there was high competition regarding prices of goods, discount sale was necessary for competition. This resulted in low profit, and therefore convenient stores in
each area should cooperate in organizing sale promotion activities. For the distribution channel aspect it
was found that late delivery of goods resulted in unavailability of products to serve customers. Therefore,stock inventory should be continuously monitored. Regarding the market promotion aspect, the study revealed that there was insufficient promotion such as discount, advertisement and public relations.
Therefore, market promotion should be improved. As for the personnel aspect, it was found that there
was still lack of workforce due to labor migration to Bangkok. Thus, entrepreneurs should consult with the
Labor Department to reduce problems. Regarding the service aspect, most customers had to spend a long
time at checkout counters due to the poor payment system. Consequently, there should be more payment
machines and improvement in speed. Finally, in the office facilities aspect it was found that most of convenient stores were not well organized; therefore, the stores should be redesigned for better
appearance and store image.

Article Details

บท
บทความวิจัย