การพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนบ้านโพนงาม อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 Teacher Development in Project Based Learning Activity Management of Ban Phon-ngam School, Kuntharawichai D
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนบ้านโพนงาม อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 2 วงรอบ แต่ละวงรอบ ประกอบด้วย การวางแผน ปฏิบัติการ สังเกตการณ์ และสะท้อนผล 2 กลยุทธ์ คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสังเกต แบบประเมิน และแบบทดสอบ ผลการวิจัยพบว่าผลจากการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานในวงรอบที่ 1 ด้วยกลยุทธ์ การอบรมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานในระดับมาก ส่วนด้านความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานอยู่ในระดับปานกลาง การพัฒนาในวงรอบที่ 2 ด้วยกลยุทธ์การนิเทศภายใน พบว่า การนิเทศภายในวงรอบที่ 2 ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานอยู่ในระดับมาก
The research aimed at developing teachers at Ban Phon-ngam school, Kuntharawichai District,
Maha Sarakham Province, under Maha Sarakham Basic Educational Area Office 1 emphasizing on the
knowledge, understanding and competency in project based learning activity management by using the
action research method. The frameworks consisted of two circles, each circle consisted of 4 steps:
planning, action, observation, and reflection steps. Two development strategies employed were action
research training and internal supervision. The research instruments were observation form, assessment
form, and test. The research results were was follows:
In regard to the first circle of the teacher development project, it was found that the level of the
understanding of the teachers about project based learning activity management after using the action
research training strategy was high, while the level of the competency of the teachers in project based
learning activity management was moderate. However, the level of the competency of the teachers in
project based learning activity management after using the internal supervision strategy was high.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา