การศึกษาสมบัติของดินบริเวณที่พบเห็ดในเขตป่าชุมชนดงใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม The Study of Soil Properties in Wild-Mushroom Grown in at Dong Yai Community Forest Wapipathum District, Maha Sarakham Province

Main Article Content

ศรินทร์ ทองธรรมชาติ Sarin Thongthummachat

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรกเพื่อศึกษาคุณสมบัติดิน และประการที่สองเพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของดินบริเวณที่พบเห็ดโคน เห็ดไค เห็ดระโงก และ เห็ดเผาะ จากการวิเคราะห์สมบัติของดินบริเวณที่พบการเจริญเติบโตของเห็ดทั้ง
4 ชนิด พบว่าเนื้อดินเป็นดินทราย มีเปอร์เซ็นต์ทราย 86.67–95.00 เปอร์เซ็นต์ มีสภาวะเป็นกรดจัด ค่าพีเอช 4.50 – 4.95 ความ
หนาแน่น 1.29–1.50 g • cm-3 ค่าความชื้น 13.05–14.35 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณอินทรียวัตถุ 0.17 – 1.02 % ปริมาณธาตุอาหารหลัก
ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม 0.13 – 0.21 % 0.50 – 0.70 mg • kg-1 และ 8.00 – 21.00 mg • kg-1 ตามลำดับ
ปริมาณธาตุอาหารรอง แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม เหล็ก แมงกานีส ทองแดง และสังกะสี 58.00 – 189.00, 6.00 – 48.00,
6.00, 34.00 – 77.00, 4.00 – 25.00, 0.20 – 0.80 และ ND – 0.40 mg • kg-1 ตามลำดับ
การเปรียบเทียบคุณสมบัติของดินตัวอย่างพบว่ามีค่าพีเอช ความหนาแน่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
มีค่าความชื้นไม่แตกต่างกัน ปริมาณอินทรียวัตถุ ธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุอาหารรอง แคลเซียม แมกนีเซียมและจุลธาตุ เหล็ก แมงกานีส และสังกะสี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ ระดับ 0.01

The purposes of this research were to study the soil properties and compare the soil properties
which the four wild mushrooms: Termitomyces fuliginosus, Russula delica, Amanita hemibapha and
Actracus hygrometricus were grown in. The results of the research found that the areas of the four wild
mushrooms grown in were sandy soil with 86.67 - 95.00 percent of sand. The status of soil was soil acidity
with a pH between 4.50 - 4.95. The density of soil was 1.29 -1.50 g. cm. The moisture content was
13.05 - 14.35 percent. The soil organic matter was 0.17-1.02 percent. The main soil nutrient was nitrogen,
phosphorus and potassium: 0.13-0.21, 0.50 - 0.70 and 8.00 - 21.00 mg. kg respectively. The subordinate soil
nutrient was calcium, magnesium, sodium, iron, manganese, copper were 58.00 - 189.00, 6.00 - 48.00,
34.00 - 77.00, 4.00 - 25.00, 0.20 - 0.80 and zinc ≤ 0.40 mg. kg. respectively. The comparison of sample soil
properties indicated that the pH and density of soil were significant difference at .01 level. However,the moisture content was not different. The soil organic matter: main soil nutrient; nitrogen, phosphorus,
potassium and subordinate soil nutrient; calcium, magnesium and micro element, iron, manganese and
zinc were significant difference at .01 level.

Article Details

บท
บทความวิจัย