ผลของการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อการเรียนรู้ที่มีต่อการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว ของเด็กปฐมวัย The Effects of Art Activity Model for Learning on Perception of Surrounded Environment of Preschoolers in Kankusol-Nongwaeng School

Main Article Content

นภัส วรรณขันธ์ Napat Wannakhan
กุลยา ตันติผลาชีวะ Kulaya Tantiphlachiva
ราชันย์ บุญธิมา Rachan Boontima

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประการแรก เพื่อศึกษาการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อการเรียนรู้ ประการที่สอง เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้รูปแบบ
กิจกรรมศิลปะ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กชาย หญิง อายุ 5 – 6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนการกุศลวัดหนองแวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มหาสารคาม เขต 1 ด้วยวิธีสุ่มแบบอย่างง่าย จำนวน 15 คน สำหรับจัดกิจกรรมศิลปะ
เพื่อการเรียนรู้ ดำเนินการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 35 นาที เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อการเรียนรู้ และแบบประเมินการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวของเด็กปฐมวัย ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86
ใช้แผนการวิจัย One – group pretest – posttest design สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ
การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กปฐมวัยที่ผ่านกิจกรรมศิลปะเพื่อการเรียนรู้มีการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยรวม และจำแนกรายด้านมีค่า
เฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก
2. การเรียนรู้ที่มีต่อการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวของเด็กปฐมวัยภายหลังการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อ การเรียนรู้
สูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

The purposes of this study were 1) to investigated the perception of surrounded environment of
preschoolers through the using of art activity model for learning. 2) to compare the perception of
surrounded environment of preschoolers before and after using Art Activities Model. The subjects
consisted of 15 students aged 5 – 6 years old at Kankusonewutnongwang school, Maha-Sarakham
Educational Service Office, Area 1, in 2nd semester of 2008 academic year. They were selected by simple
random sampling method. The art activity model for learning was administered within 8 weeks (3 days per
week and 35 minutes per day). The research instruments included lesson plans of the art activity model for
learning and the perception of surrounded environment of preschoolers evaluation form with reliability of
0.86. The research design was One – Group Pretest – Posttest Design. The statistics employed were mean,
standard deviation and t-test dependent.
The results revealed the following;
1. The perception of surrounded environment of preschoolers through the using of art activity
model for learning were found at a very high level.
2. After using Art Activities Model for learning, the perception of surrounded environment of
preschoolers was significantly higher than before at.01 level.

Article Details

บท
บทความวิจัย