ผลการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพโดยการใช้สนามเด็กเล่น Effectiveness of Improvement in Health–related Physical Fitness using Playground

Main Article Content

ดนัย ขุ่มด้วง Danai Khumduang

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรกเพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายภาพ และประการที่สองเพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนก่อนการฝึก ระหว่างการฝึก และหลังการฝึกโดยการใช้สนามเด็กเล่น กลุ่มตัวอย่าง
การวิจัย คือ นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 จำนวน 30 คน ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย สนามเด็กเล่นโปรแกรมการฝึกสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า
สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพนักเรียนมีความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง ลุกนั่ง 60 นาที ดันพื้น 30 วินาที นั่งงอตัวไปข้างหน้า วิ่งอ้อมหลัก และวิ่งระยะทางไกล ก่อนการฝึก ระหว่างการฝึก และ หลังการฝึก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05 ส่วนรายการดัชนีมวลกายไม่แตกต่างกันทางสถิติ

The purpose of this research were to study and compare effectiveness of health–related physical
fitness pre–training, while–training and post-training through use of playground. Sample of the study were
30 students of the first class range selected by first using the quota sampling method and then by simple
random sampling. The tools used in this research were a playground, physical fitness for health program
and a health–related physical fitness test.
Findings revealed that subjects’ post–training health–related physical fitness was significantly
different from the pre–training and while–training at the.05 level in the following tasks: Skinfold Thickness,
Sit–Ups 60 Seconds, Push–Ups 30 Seconds, Sit and Reach, Zig–Zag Run and Distance Run. However, their
was no significant difference in their Body Mass Index.

Article Details

บท
บทความวิจัย