การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมงานนำเสนอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ : กรณีการพัฒนาครูโรงเรียนบ้านขามเรียน ตำบลหนองบัว อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม Development in a Training Model of Computer-Based Forms of Presentation: A Case Study of Teacher Development in

Main Article Content

เศกสรรค์ วัฒนบุตร Seksan Wattanaboot

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมงานนำเสนอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ : กรณีการพัฒนาครูโรงเรียน บ้านขามเรียน
ตำบลหนองบัว อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์ ประการแรกเพื่อพัฒนารูปแบบ การฝึกอบรมงาน
นำเสนอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ประการที่สองเพื่อเปรียบเทียบผลที่เกิดจากการพัฒนา
โดยใช้รูปแบบการฝึกอบรมงานนำเสนอโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก่อนและหลังการฝึกอบรม และ ประการที่สามเพื่อประเมิน
โครงการการฝึกอบรมงานนำเสนอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กลุ่มเป้าหมายการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนบ้านขามเรียน ตำบล
หนองบัว อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 จำนวน 10 คน ได้มาโดยวิธี
เลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย ชุดฝึกอบรม แบบสอบถามปัญหา ความต้องการฝึก
อบรม และสภาพความจำเป็นพื้นฐาน แบบประเมินการสร้างชิ้นงานนำเสนอ แบบประเมินโครงการการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรม
และแบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลแสดงเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
t – test (Dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการฝึกอบรมงานนำเสนอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.69 /
84.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. การเปรียบเทียบผลที่เกิดจากการพัฒนาของกลุ่มตัวอย่าง การใช้รูปแบบการฝึกอบรมงานนำเสนอด้วยโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ได้คะแนนสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความคิดเห็นของครูต่อการประเมินโครงการการฝึกอบรมงานนำเสนอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทั้ง 4 ด้าน
ประกอบด้วย บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต มีความคิดเห็นต่อการประเมินโครงการโดยรวม และทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
The objectives of this research were to develop the training model of computer-based forms of
presentation accordance with 80/80 standardized criterion of the efficiency, to compare the results of the
development in the training model of computer-based forms of presentation and to evaluate the training
project. The target population was ten teachers from Ban Khamrian, Nong Bua sub-district,
Payakkhappompisai district, Mahasarakham province, they were selected by purposive random sampling
technique. The research instruments were a training package, a questionnaire, an evaluation form, and
pre-test and post-test. The research statistics used were percentage, mean, standard deviation and t-test
(Dependent Samples).
The finding indicated that the efficiency of the training package was higher than the
standardized criterion. The value of the efficiency was 86.69/84.75.
In regard to the results, it revealed that the average score of the teachers after training the
computer-based forms of presentation was significantly higher than before training the computer-based
forms of presentation at the.01 level.
The average opinion of the teachers on four factors of the training project: context, input, process,
and product was very high.

Article Details

บท
บทความวิจัย