การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบ้านบ่อใหญ่ (บ่อใหญ่เรืองศิลป์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1

Main Article Content

อรรฆเดช ทองกอง1 Akkhadet ThongKong

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรกเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่าน
และการเขียน คำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ประการที่สองเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน และประการที่สามเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบ
ฝึกการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มเป้าหมายการวิจัย คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านบ่อใหญ่ (บ่อใหญ่เรืองศิลป์) ชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 คัดเลือกนักเรียนแบบเจาะจง (Purposive
sampling) เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและ การเขียนคำควบกล้ำ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
จำนวน 40 ข้อ แบบทดสอบย่อยท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
จำนวน 15 ชุด ชุดละ 10 ข้อ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 15 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิ์
ภาพเท่ากับ 88.64/86.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์กำหนดไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำโดยรวมอยู่ในระดับมาก
The present study aimed to investigate threefold: 1) to develop sets of plans for organizing
learning in the Thai learning strand entitled Reading and Writing Consonant-Cluster Words for Prathom
Suksa (grade) 4 to reach a required efficiency of 80/80; 2) to examine learning achievement in the Thai
learning strand grade 4 students, and 3) to examine grade 4 students’ satisfaction with the plans for
organizing learning by using exercises on reading and writing consonant-cluster words. The sample in the
study were 30 grade 4 students at Ban Bo Yai (Bo Yai Ruangsin) School in Maha Sarakham Educational
Service Area Office Zone 1, obtained through the purposive sampling technique. Four types of the
instruments used in the study included 1) 15 researcher-developed sets of plans for organizing learning by
using exercises on reading and writing consonant-cluster words for grade 4; 2) a 40-item 4-choice
achievement test of reading and writing consonant-cluster words; 3) 10 quizzes at the end of each of the 15
plans for organizing learning by using exercises on reading and writing consonant-cluster words grade 4;
and 4) a 15-item questionnaire on student’s satisfaction with plans for organizing learning.
The results of the study revealed as follows:
1. The researcher-developed sets of plans for organizing learning entitled Reading and Writing
Consonant-Cluster Words for grade 4 had an efficiency of 88.64/86.92 which was higher than the
established requirement.
2. Grade 4 students learned by using the exercises on reading and writing consonant-cluster
words had higher learning achievement after learning than before learning at the.01 level of significance.
3. The students showed their satisfaction with the plans for organizing learning by using the
exercises on reading and writing consonant-cluster words as a whole at a high level

Article Details

บท
บทความวิจัย