การพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด Personnel Development in Cooperative Learning of the Pre-school Chidren Development Center of Muang Roi-Et Municipality
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และให้สามารถจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือได้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย ขั้นวางแผนปฏิบัติการ สังเกตการ และสะท้อนผล ดำเนินการด้วยวิธีการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน กลุ่มเป้าหมายการวิจัยจำนวน 5 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสังเกต แบบประเมิน แบบทดสอบ และแบบวัดความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ด้วยวิธีการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน
เป็นผลให้บุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมากขึ้น โดยมีผลการทดสอบหลังการปฏิบัติการสูงกว่าก่อนการปฏิบัติการระดับมากถึงร้อยละ 80.67 และบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความสามารถในการเขียน
แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมืออยู่ในระดับมาก
This research ained to develop personaclthe Developing Children Center of Muang Roi-Et in
cooperative learning management and ability to do so using action research following Kemmis and
McTaggart’s conceptual framework with a 4 steps as: planning, action, observation, and reflection steps
using two development strategies, workshop and internal supervision, 5 subjects were as target group.
Data collection tools consists of observation from assessment form, questionnaire, and satisfaction
measurement form.Research results found that:
Personnel development of pre-school children development center Roi-et municipality, using
workshop and internal supervision revealed that subjects were increased comprehension of cooperative
learning by considering the higher post-test scores than pre-test and post-workshop the target group
gained high level scores (80.67%) In addition, it also enhanced cooperative learning management efficacy
of pre-school children development center personnel which considered from two times supervision on
cooperative learning plan drawing and ability in cooperative learning management which found that target
group have ability drawing cooperative learning plan and ability to implement cooperative learning, two
times, in high level.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา