การพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรสำหรับนิสิตครูในการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้กิจกรรมเสริมหลักสูตรสำหรับนิสิตครูในการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคม
อาเซียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นิสิตครูชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2556 เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมเสริมหลักสูตรสำหรับนิสิตครูในการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน 2) แบบทดสอบวัดผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบวัดความสามารถในการปฏิบัติการจัดการ
เรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมเสริมหลักสูตรสำหรับนิสิตครูในการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน มีผลการประเมินคุณภาพในระดับมากที่สุด
2. ผลการใช้กิจกรรมเสริมหลักสูตรสำหรับนิสิตครูในการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน พบว่า นิสิตครูมีผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนเรื่องการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และนิสิตครูมีความสามารถในการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้สู่
ประชาคมอาเซียนอยู่ในระดับดีมาก
อาเซียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นิสิตครูชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2556 เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมเสริมหลักสูตรสำหรับนิสิตครูในการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน 2) แบบทดสอบวัดผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบวัดความสามารถในการปฏิบัติการจัดการ
เรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมเสริมหลักสูตรสำหรับนิสิตครูในการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน มีผลการประเมินคุณภาพในระดับมากที่สุด
2. ผลการใช้กิจกรรมเสริมหลักสูตรสำหรับนิสิตครูในการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน พบว่า นิสิตครูมีผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนเรื่องการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และนิสิตครูมีความสามารถในการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้สู่
ประชาคมอาเซียนอยู่ในระดับดีมาก
Article Details
บท
บทความวิจัย
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา