ความคิดเห็นของประชาคมหมู่บ้านต่อการดำเนินงานตามหลักธรรมภิบาลขององค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม;Village community Opinions toward Good Governance of Nong Pling Subdistrict Administrative Organiation, Maung Mahasarakham District.

Main Article Content

จักรี อาจจุลลา Jugree Ardjunla
วัชรินทร์ สุทธิศัย Watcharin Sutthisai

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาคมหมู่บ้านต่อการดำเนินงานตามหลักธร
รมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ประการที่สอง เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของ
ประชาคมหมู่บ้านต่อการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำแนก
ประชาคมหมู่บ้านตาม ตำแหน่ง และหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ และประการที่สาม เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาคมหมู่บ้านต่อการดำเนิน
งานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 67 คน จำแนก
ตามตำแหน่ง หมู่บ้านที่อาศัยอยู่ โดยเลือกสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และสุ่มแบบอย่างง่าย (Simple Fandom
Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามแบบของ Likert หาค่าความเชื่อ
มั่นของแบบสอบถาม (Reliability) โดยใช้วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของคอนบราค (Cronbach)
ได้ค่าเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
(One Way ANOVA) F-test และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe’ โดยตั้งระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า

This research aimed to study the level of village community opinions toward good governance of
Nongpling Subdistrict Administrative Organization, Maha Sarakham Province, and to compare the opinions of
the village community toward good governance of Nongpling Subdistrict as classified by position status and
village of residence, and to study suggestions by the village community for good governance practice of
Nongpling Subdistrict of Muang District, Maha Sarakham Province. The sample consisted of 67 residents of
Nongpling Subdistrict, obtained by using Stratified Random Sampling and Simple Random Sampling. The
instrument used for collecting data was a questionnaire based on Likert’s rating scale which had 0.76 reliability.
The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One Way ANOVA(F-test)
and Scheffe’s paired comparison test at the .05 level of statistical significance.

Article Details

บท
บทความวิจัย