รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารระดับต้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล The Servant Leadership Development Model of Junior Administrators in Rajamangala University of Technology

Main Article Content

รัตนากร ยิ้มประเสริฐ1 Ratanakorn Yimprasert1
บรรจบ บุญจันทร์2 Banjob Boonchan2
ประหยัด ภูมิโคกรักษ์3 Prayad Bhoomkhokrak3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารระดับต้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เพื่อ
สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารระดับต้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เพื่อประเมินความเหมาะสมและ
ความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารระดับต้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และเพื่อติดตามผล
การใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารระดับต้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีวิธีการ
ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารระดับต้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
โดยใช้แบบสอบถามผู้บริหารระดับต้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง จำนวน 150 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการ
พัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารระดับต้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นการสร้างรูปแบบและตรวจสอบความเหมาะสม
โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้
บรหิ ารระดบั ตน้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เปน็ การประเมนิ โดยผทู้ รงคณุ วฒุ ริ ะดบั เชีย่ วชาญ จาํ นวน 7 คน โดยใชก้ ารสัมภาษณ์
แบบกึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 4 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารระดับต้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคล ดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการก่อนการใช้รูปแบบ ดำเนินการใช้รูปแบบ และใช้แบบสอบถามระดับ
ภาวะผู้นำใฝ่บริการหลังการใช้รูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารระดับต้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ที่ต้องได้รับการพัฒนา 3 ด้าน ได้แก่
ด้านการสร้างมโนทัศน์ ด้านการมองการณ์ไกล และด้านการเห็นอกเห็นใจ 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารระดับ
ต้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มีองค์ประกอบ 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 แนวคิดและหลักการของรูปแบบ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์
ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 แผนการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ ส่วนที่ 4 กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ มี 3 ขั้น คือ การประเมิน
ตนเองก่อนการพัฒนา ดำเนินการพัฒนา การประเมินตนเองหลังการพัฒนา ส่วนที่ 5 เงื่อนไขการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ และ 3) ผล
การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารระดับต้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พบว่า ระดับภาวะผู้นำใฝ่
บริการของผู้บริหารระดับต้นหลังการใช้รูปแบบมีระดับคะแนนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ โดยก่อนการใช้รูปแบบมีระดับคะแนนเฉลี่ย
4.57 และหลังการใช้รูปแบบมีระดับคะแนนเฉลี่ย 4.82 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
The objectives of this research were to study the level of servant leadership of Junior Administrators
in Rajamangala University of Technology, to construct the servant leadership development model, to evaluate
the suitability and possibility of the servant leadership development model and to follow up the model using
results. The study consisted of 4 phases ; Phase 1 : distributing the questionnaire to 150 Junior Administrators
all of nine universities of Rajamangala University of Technology. Phrase 2 : reviewing the servant leadership
development model by 5 experts. Phrase 3 : evaluating the suitability and possibility of the model by applying
the semi-structured or guided interview by 7 experts, and Phrase 4 : following the model results by employing
pre questionnaire, model, and post questionnaire.
The findings were as the followings :
1. The three leadership characteristics should be developed by Junior Administrators were
conceptualization, foresight, and empathy.
2. The servant leadership development model comprised 5 principal components were: 1) concept
and principle, 2) purpose of the model, 3) a leadership development plan, 4) a leadership development process
comprising 2 steps; pre-self-assessment of leadership, post-self-assessment of leadership, and 5) servant
leadership development condition.
3. The pre-self-assessment of leadership showed that the level of servant leadership of Junior
Administrators was at 4.57 and the post-self-assessment of leadership pointed out that the level of servant
leadership of Junior Administrators was at 4.82 with statistically significant differences at 0.01 level

Article Details

บท
บทความวิจัย