ปัญหาความรับผิดของผู้ซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมที่ละเมิดลิขสิทธิ์;Liability Problems of brand-name pirated product buyers

Main Article Content

ณญา ศิริชาติ1 Naya Sirichat1

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งในปัจจุบันพระราชบัญญัติ
ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ยังไม่มีการกำหนดความรับผิดของผู้ซื้อหรือครอบครองเสื้อผ้าแบรนด์เนมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่เนื่องจากผู้เขียนเห็น
ว่า ผู้ซื้อเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ในเสื้อผ้าแบรนด์เนม กล่าวคือ เป็นไปตามหลักอุปสงค์อุปทาน เมื่อมี
ผู้ต้องการซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมที่ละเมิดลิขสิทธิ์จำนวนมาก ย่อมทำให้มีผู้ขายเสื้อผ้าแบรนด์เนมที่ละเมิดลิขสิทธิ์มากด้วยเช่นกัน
อันเป็นการส่งผลกระทบต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และภาพลักษณ์ของประเทศเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นที่จะต้องหามาตร
การต่างๆ ในป้องกันและปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ในเสื้อผ้าแบรนด์เนมให้หมดไปหรือลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า
การที่ในปัจจุบันมีการละเมิดลิขสิทธิ์ในเสื้อผ้าแบรนด์เนมจำนวนเพิ่มมากขึ้นนั้นผู้ซื้อถือว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมผู้
กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ โดยใช้สิทธิของตนไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น ซึ่งเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและการกระทำโดยขาดจริยธรรมใน
การเคารพสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษากฎหมายลิขสิทธิ์ของต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา
อังกฤษ และฝรั่งเศส จะเห็นได้ว่า แม้ต่างประเทศจะไม่มีกฎหมายบัญญัติความรับผิดกับผู้ซื้อโดยตรง แต่ก็มีกฎหมายพอเทียบเคียง
ในการเอาผิดกับผู้ครอบครองสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์และผู้นำสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เข้าประเทศ เป็นต้น และยังมีบทลงโทษกับผู้กระทำ
ละเมิดลิขสิทธิ์ที่รุนแรง
ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเห็นสมควรเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาความรับผิดของผู้ซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมที่ละเมิดลิขสิทธิ์
โดยการกำหนดความผิดของผซู้ ื้อเสื้อผา้ แบรนดเ์ นมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ไวใ้ นกฎหมายลิขสิทธิ์ และกำหนดใหมี้การเผยแพรค่ วามรแู้ กป่ ระชาชน
ทั่วไปให้เข้าใจในเรื่องการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ บทลงโทษ และนอกจากนั้นยังกำหนดให้รัฐมีอำนาจในการควบคุมราคา เพื่อให้ประชาชน
ได้รับความเป็นธรรมในด้านราคาและไม่เห็นถึงความแตกต่างด้านราคาระหว่างสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ กับสินค้าที่มีลิขสิทธิ์มากนัก;

This research is to study the liability problems of brand-name pirated product buyers. In the present,
the Copyright Act B.E. 2537 has not included the liability of brand-name pirated product buyers. The author
points that the buyers of these pirated goods are one of the major reasons that bring about the trend of piracy
following the law of supply and demand. The numbers of buyers increase, the number of sellers increase as
a response. As a result, this trend affects the social status, the economy, the culture, as well as the image of
the country. It is essential to set up the defensive measure in order to protect and go against piracy with
brand-name products.
This research has been found that the buyers are considered to be the supporters of those who enhance
the act of piracy by using their rights to infringe the rights of others. This act is considered to be dishonest in
which there is just no morality in respecting the rights of other individuals. Nevertheless, various copyright
laws from several countries like the United States of America, the United Kingdom and France have shown
that these countries do not have a direct liability or a law for those who purchase pirated goods, there is
somewhat a similar law that marks the liability of the owners of the pirated brand-name goods as well as those
who import these goods directly into the country. Furthermore, these countries have definite, strong punishments
for those who own brand-name pirated goods.
For this reason, the author points that there should solve the problem liability of brand-name pirated
goods by setup punishment in copyright law. Knowledge propagation should be provided through people to
understand regarding copyright protection, and punishment. Besides, government sector has authorized in
price control in order that the consumers receive a fair and reasonable price. There should not be different
in pricing between pirated goods and goods with copyright.

Article Details

บท
บทความวิจัย