การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องอินทรีย์ของ ผู้ผลิตบ้าน มะค่า ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม;Feasibility Analysis of Organic Brown Rice Processing Business Investment of Producers in Ban Makha, Makha Sub-distri

Main Article Content

วงศ์พัฒนา ศรีประเสริฐ1 Wongpattana Sriprasert1

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การตลาด เทคนิคและการเงินของธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องอินทรีย์ และ
ประเมินความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องอินทรีย์ของผู้ผลิตบ้านมะค่า ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัด
มหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้รู้ซึ่งเป็นผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องจากหน่วยงานของภาครัฐ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
องค์การบริหารส่วนตำบลมะค่า สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และสำนักงานพาณิชย์จังหวัด แห่งๆ ละ 1 คน รวมจำนวน 3 คน
เป็นการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ จากนั้นจึงทำการสรุปและสังเคราะห์โดยการใช้เทคนิค
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา กับเกษตรกรผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องอินทรีย์แปรรูปของบ้านมะค่า จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1-4
โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวกหมู่บ้านละ 10 คน รวมจำนวน 40 คน และทำการสอบถามเฉพาะรายที่ได้รับการคัดเลือก
ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องอินทรีย์โดยการใช้แบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่น
เท่ากับ 0.96 เมื่อได้รับข้อมูลแล้วทำการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุน ได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ
อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน และระยะเวลาคืนทุน โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ ปรากฏผล ดังต่อไปนี้
ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด พบว่า ในปัจจุบันเกษตรกรกลุ่มผู้ผลิตบ้านมะค่าต้องเผชิญกับภาวะของการแข่งขัน
ทางการตลาดอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้ซื้อข้าวกล้องอินทรีย์มีอำนาจในการต่อรองสูง ในขณะที่มีตนอำนาจในการต่อ
รองกับผู้ผลิตอยู่ในระดับตํ่า ทำให้ไม่สามารถกำหนดราคาข้าวกล้องอินทรีย์และเงื่อนไขต่างๆ ในตลาดได้มาก และที่สำคัญคือ
ต้องเผชิญกับภาวการณ์คุกคามจากสินค้าทดแทนอยู่ในระดับสูง ในภาพรวมประจำปี พ.ศ. 2555 พบว่า มียอดขายเฉลี่ยแปลงละประมาณ
300,000.00 บาทต่อปี
ผลจากการวิเคราะห์เทคนิค พบว่า การประมาณการค่าใช้จ่ายในการลงทุนผลิตข้าวกล้องอินทรีย์แปรรูปของบ้านมะค่า ประจำปี
พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน เท่ากับ 6,240.00 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผลิตข้าวกล้องอินทรีย์ เท่ากับ 33,518.00 บาท
ผลจากการวิเคราะห์การเงิน พบว่า กำไรสุทธิจากการลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องอินทรีย์แปรรูปของบ้านมะค่า ในปีแรก
เท่ากับ 266,482.00 บาท กำไรสะสมในปีที่ 5 จะเท่ากับ 376,773.00 บาท และกระแสเงินสดของผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องอินทรีย์แปรรูป
ของบ้านมะค่าตามการคาดการณ์ใน 5 ปีข้างหน้า จะเท่ากับ 376,746.00 บาท
ผลการประเมินความเป็นไปได้ในการลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องอินทรีย์แปรรูปของผู้ผลิตบ้านมะค่า พบว่า เกษตรกรกลุ่ม
ผู้ผลิตบ้านมะค่า ควรตัดสินใจเลือกที่จะลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องอินทรีย์แปรรูป ถือเป็นการลงทุนที่สามารถยอมรับได้ เพราะได้

รับผลตอบแทนทีมี่ความคมุ้ คา่ กับเงินที่ตอ้ งลงทุนไป เนื่องจากมูลคา่ ปจั จุบันสุทธิ (NPV) มีคา่ เปน็ บวก โดยมีมูลคา่ เทา่ กับ 1,102,700.00
บาท และที่สำคัญให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) สูงกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นตํ่าที่ได้กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 8 โดยให้ผล
ตอบแทนจากการลงทุน ร้อยละ 32.33 ประกอบกับระยะเวลาที่กระแสเงินสดรับสุทธิจากการลงทุนสามารถชดเชยกระแสเงินสดจ่ายเงิน
ลงทุนสุทธิตอนเริ่มของการลงทุนพอดี โดยใช้ระยะเวลาในการคืนทุนเพียง 11 เดือน 15 วัน

The objectives of this research were to conduct marketing analysis, technical analysis, and financial
analysis of organic brown rice processing business, including feasible appraisal of investment in organic brown
rice processing business of producers in Ban Makha, Makha Sub-district, Kantharawichai District, Maha Sarakham
Province. One sample group used for collecting data in this study consists of 3 specialists, each purposely
selected from one of the three government-sector offices: Ban Makha Sub–district Administrative Organization,Maha
Sarakham Community Development Provincial Office, and Office of Commercial Affairs ofMaha Sarakham, with
data collected using interviews before summarized and synthesized by using content analysis; and the other
sample group consisted of 40 farmers or producers of processed organic brown rice products, 10 from each
of the four villages of Ban Makha 1-4 selected to participate in the study by convenience sampling; the data
were collected by using a questionnaire of 0.96 reliability and later analyzed by using a statistics program for
feasible appraisal of processed organic brown rice business investment, e.g. Net Present Value (NPV), Internal
Rate of Return(IRR), and Pay Back Period (PBP).
The qualitative and quantitative research results are as follows:
1) The marketing analysis results reveal that farmers who produce processed organic brown rice products
have to confront rather high competitive condition because buyers have high bargaining power, while the
producers have too low bargaining power to fix and control prices of organic brown rice and marketing, and
thus they have to encounter threat of substitute products at the high level. Their overall sale of 2012 was
approximately 300,000.00 baht plot.

2) The technical analysis results show that an estimated cost of investment in producing processed
organic brown rice of Ban Makha during January-September in 2012 was 6,240.00 baht, while the estimated
management cost was 33,518.00 baht.
3) The financial analysis results reveal that the net profit from investment in producing processed organic
brown rice products of Ban Makha in the first year was 266,482.00 baht, the accumulated profit in 5 years would
be 376,773.00 baht, and the cash flow of processed organic brown rice products of Ban Makha is expected to
be 376,746.00 baht in the next 5 years.
4) The feasible assessment of investment in producing processed organic brown rice products of Ban
Makha reveals that farmers should decide to choose investment in producing processed organic brown rice
products of Ban Makha because this can yield acceptable benefits worthy of investment, having positive net 

present value (NPV) of 1,102,700.00 baht and the internal rate of return(IRR) of 32.33 %, higher than the assigned
minimum rate of 8% , and the pay back period (PBP) being only 11 months and 15 days.

Article Details

บท
บทความวิจัย