การเปรียบเทียบผลการเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการอาชีพ ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บ เควสท์กับการเรียนแบบปกติเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1; A Comparison of First Year Vocational Students’ Learning Achievements
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพบทเรียนแบบเว็บเควสท์ วิชาภาษาไทยเพื่อการอาชีพ ระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ประการที่สอง เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนแบบเว็บ
เควสท์ วิชาภาษาไทยเพื่อการอาชีพ ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้น ประการที่สาม เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนและทักษะด้านการเขียน
วิชาภาษาไทยเพื่อการอาชีพ ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์กับการเรียนแบบปกติ ประการที่สี่ เพื่อเปรียบเทียบทักษะ
ด้านการเขียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์ วิชาภาษาไทยเพื่อการอาชีพ และประการที่ห้า เพื่อศึกษาผลการเรียน
ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่
1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา จำนวน 80 คนได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster
random sampling) จากนั้นแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปี
ที่ 1/1 และ 1/2 ที่เรียนรวมกลุ่มกัน จำนวน 40 คน เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ เว็บเควสท์ กลุ่มที่ 2 กลุ่มควบคุม คือ นักเรียน
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1/3 และ 1/4 ที่เรียนรวมกลุ่มกัน จำนวน 40 คน เรียนแบบปกติในชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ใน
การทดลอง ได้แก่ 1) บทเรียนบนเว็บแบบเว็บเควสท์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะการเขียน และ4)
แบบประเมินผลการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วย
t-test (Dependent) และ Hotelling T2 ผลการวิจัยพบว่า
1. บทเรียนแบบเว็บเควสท์ วิชาภาษาไทยเพื่อการอาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ
(E1/E2) เท่ากับ 83.58 /884.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนแบบเว็บเควสท์ วิชาภาษาไทยเพื่อการอาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ
0.7688 แสดงว่า บทเรียนแบบเว็บเควสท์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.88
3. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์ วิชาภาษาไทยเพื่อการอาชีพ มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนและ
ทักษะด้านการเขียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้
The purposes of this research aimed 1) to develop WebQuest for the Thai for Careers course for first
year vocational students with a required efficiency of 80/80, 2) to find an effectiveness index of the developed
WebQuest program, 3) to compare first year vocational students’ learning achievements and writing skills in
the Thai for Career course, weighing WebQuest against traditional instruction, 4) to compare students’ learning
achievements and writing skills before and after learning, 5) to study the effectiveness of WebQuest for first
year vocational students. The sample used in this study consisted of forty first year vocational students
attending Nakhon Ratchasima Technical College in the second semester of the 2012 academic year. Students
were selected using the cluster random sampling technique. The experimental group was made up of eighty
first year vocational students using Web Quest, and the control group was forty first year vocational students
learning through traditional instruction. The instruments used for this study included 1) Web Quest, 2) an
achievement test, 3) a writing skills test, and 4) an observation of the students’ learning behavior. The statistics
of the collected data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, E1/E2, the effective index t-test
(Dependent), and Hotelling T2.
The research results are:
1. The developed WebQuest program used in the Thai for Careers course for first year vocational
students had an efficiency (E1/E2) of 83.58 /884.6, which met the 80/80 requirement.
2. The developed WebQuest program used in the Thai for Careers course for first year vocational
students had an effectiveness index of 0.7688, showing that the students had a learning progress at 76.88
percent.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา