การพัฒนาบุคลากรด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของสถานศึกษา สังกัด อบต.บรบือ;Classroom Action Research Development of School Personnel under the Borabue Subdistrict Administrative Organization
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการทำวิจัยในชั้นเรียนของบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากร
ของสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้ และศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินการพัฒนา
บุคลากรด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
ตามกระบวนการ การทำวิจัยในชั้นเรียน 5 ขั้นตอน คือ 1) สำรวจและวิเคราะห์ปัญหา 2) กำหนดวิธีการในการแก้ปัญหา 3) พัฒนาวิธี
การหรือนวัตกรรม 4) นำวิธีการหรือนวัตกรรมมาใช้ 5) สรุปและรายงานผล โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน และใช้กลยุทธ์ใน
การพัฒนา 3 กลยุทธ์ คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน และการนิเทศภายใน มีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 10 คน เครื่องมือที่
ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจจากการอบรม
เชิงปฏิบัติการ แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจจากการศึกษาดูงาน แบบประเมินผล
งานการทำวิจัยในชั้นเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันการทำวิจัยในชั้นเรียนของบุคลากรในสถานศึกษา พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เห็นว่าการทำวิจัยในชั้นเรียนนั้นมี
ประโยชน์ต่อทั้งนักเรียนและครู ในด้านการแก้ปัญหา และการพัฒนานักเรียน อีกทั้งมีความต้องการเข้ารับการพัฒนาด้านการทำวิจัยใน
ชั้นเรียน โดยเห็นว่ากลยุทธ์ที่จะทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน
การศึกษาดูงานจากสถานที่จริง และการนิเทศเป็นประจำอย่างสมํ่าเสมอ ก็จะสามารถทำงานวิจัยได้เป็นอย่างดี
2. ด้านความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน
2.1 ผลจากการอบรมเชงิ ปฏิบัติการ พบวา่ กลมุ่ เปา้ หมายมีปฏิสัมพนั ธอ์ ันดีตอ่ วทิ ยากรและผ้เู ขา้ ฝกึ อบรมดว้ ยกัน ในระดับ
มากที่สุด รองลงมา คือ มีความสนใจและตั้งใจในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ มีส่วนร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการตรงเวลา และการให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ของการฝึกอบรมฯ ในระดับมากที่สุด
2.2 ผลจากการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ผลการทดสอบก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการมี
คะแนนเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 16.6 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 55.2 และผลการทดสอบหลังการอบรมเชิง
ปฏิบัติการมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 25.5 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85
2.3 ผลจากการศึกษาดูงานของกลุ่มเป้าหมาย พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการสำรวจและวิเคราะห์
ปัญหา ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การเขียนรายงานวิจัย ในระดับมากที่สุด และการจัดกระทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล
ในระดับมากที่สุด
The purpose of the research is to analyze the current conditions of classroom action research of school
personnel, to develop the knowledge and skills in classroom action research of school personnel and to survey
the satisfaction of the teachers with the personnel development project for school personnel under the Borabue
Subdistrict Administrative Organization. The research methodology was divided into five phases: 1) problem
analysis, 2) identifying problem solutions, 3) developing innovation, 4) applying innovation, and 5) making
conclusion and report. Four steps of the action research and three strategies were employed for the study. The
strategies included workshop, study visit and supervision. The target population was ten school personnel under
the Borabue Subdistrict Administrative Organization. The instrument was an interview form, three sets of an
assessment form, a test and a questionnaire.
Results of the research are as follows:
1. The findings showed that the school personnel realized the importance of classroom action research
in developing students and solving problems. The school personnel mostly needed for classroom action research
development. Three strategies for efficient school personnel development included workshop on classroom
action research, study visit and supervision.
2. The results of knowledge and skills in classroom action research are as follows.
2.1 The four very highly rated items of the workshop were interaction of trainees with trainers and
trainees, participation in workshop activities, punctuality and collaboration.
2.2 The average pretest score for classroom action research of the trainees was 16.60 of 30 Points
(55.20%), and the average posttest score of the trainees was 25.50 of 30 (85%).
2.3 The three very highly rated benefits of the study visit of the target population were problem
analysis, writing research report, and data analysis and conclusion.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา