การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่างๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ NTeQ กับการเรียนแบบปกติ;A Comparison of Mathayomsueksa IV Students’ Achievement and Analytical Thinking Abili
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเว็บแบบ NTeQ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่างๆ ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ประการที่สอง เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ NTeQ ที่พัฒนา
ขึ้น ประการที่สาม เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ NTeQ ประการ
ที่สี่ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ NTeQ กับการเรียน
แบบปกติ และประการที่ห้า เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ NTeQ ที่พัฒนาขึ้นกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองยางพิทยาคม ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster
Random Sampling) จำนวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บทเรียนบนเว็บแบบ NTeQ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ
ปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการ
เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบ
สมมติฐานใช้ HoTelling’s T2 ผลการวิจัยพบว่า
1. บทเรียนบนเว็บแบบ NTeQ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่างๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.18/77.64
2. การเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ NTeQ ที่พัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.562
3. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ NTeQ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่างๆ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน
สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ NTeQ มีผลสัมฤทธิ์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่เรียน
แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ NTeQ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่างๆ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา