การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนบ้านนาอุดม อำเภอเดชอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5;Developing Teachers’ Skills in Arranging Learning Activities at Ban Na Udom School under the Jurisdiction of Ubon

Main Article Content

เพ็ญศรี เห็นสมัคร1 Pensri Hemsamak1
จำเนียร พลหาญ2 Chumnian Pollaharn2
อนุสรณ์ ถูสินแก่น3 Anusorn Thusinkaen3

บทคัดย่อ

การพัฒนาครูครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน และประการ
ที่สอง เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานกลยุทธ์ในการวิจัย 3 กลยุทธ์คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษา
ดูงาน และการนิเทศภายใน โดยดำเนินการตามหลักการวิจัยปฏิบัติการ (Action research) ตามแนวคิดของเคมมิส และแม็กแท็กการ์ท
(Kemmis and McTaggart) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผนขั้นการปฏิบัติ ขั้นการสังเกต และขั้นการสะท้อนผล ผู้ร่วม
วิจัยในครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน จำนวน 6 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 37 คน ได้แก่ ครูกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 คน วิทยากร จำนวน 2
คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนาอุดม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบ
ด้วย แบบบันทึก แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน และแบบประเมิน
แผนการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิง
คุณภาพใช้การพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของผู้ร่วมวิจัย พบว่า ครูผู้ร่วมวิจัยโรงเรียนบ้านนาอุดม ยึดการสอน
แบบเดิมคือสอนแบบบรรยาย ไม่ใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย ผู้เรียนไม่ได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง การจัดการเรียนการสอนไม่
สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ครูไม่มีความรู้ในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน ขาดความเข้าใจในการเขียนแผน
การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
2. ผลการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน โดยกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงานโรงเรียน
ต้นแบบ และการนิเทศภายใน พบว่า ผู้ร่วมวิจัยทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ ร้อยละ 85 สามารถ เขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานได้ในระดับมาก และผู้ร่วมวิจัยสามารถ
นำแผนการเรียนรู้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานทั้ง 5 ขั้นตอนได้ในระดับดีมาก ทุกขั้นตอน คือ การคิดและเลือกหัวข้อ
เรื่องการวางแผนโครงงาน การดำเนินงานโครงงาน การเขียนรายงานโครงงาน และการนำเสนอผลงานโครงงาน ตามลำดับ

The purposes of this research were to 1) study the current status of teaching methods using activities
and projects and 2) develop teacher’s skills in arranging learning activities and projects. There were three
strategies employed in this research, consisting of a workshop, study tour, and internal supervision. The
research conducted was according to the concept of Kemmis and McTaggart. Four processes consisting of
planning, acting, observing, and reflecting were used. Six teachers of Ban Na Udom School conducted the
research. There were a total of thirty-seven respondents covering five target teachers, two experts, and thirty
students studying in Prathom Suksa 1-6 at Ban Na Udom School. Recording forms, observation forms,
interviewing forms, tests, project evaluation forms, and evaluation forms for learning how to arrange activities
were used as research tools. The data was analyzed by utilizing mean, percentage, and standard deviation.
Analysis was presented in a descriptive form.
The results of the study were as follows:
1. It was assessed that instead of using learning activities and projects, the co-researchers and
teachers at Ban Na Udom School still used the old method of teaching, which was lecturing. Teachers did
not use a variety of teaching techniques. Students did not have a chance to learn by themselves. Moreover,
the learning arrangement did not match student requirements. Teachers lacked knowledge in arranging
learning activities and lacked understanding in forming a management plan for projects and activities.
2. After developing teachers through a workshop seminar, a study tour at a master school, and
internal supervision over developed activities and projects, teachers showed further understanding in arranging
learning activities and projects. Well created learning activities and projects include five processes: creating
a project title, planning how to conduct the activity or project, following the plan, writing a project report, and
presenting the results. They were able to write a project learning plan and practice it in their teaching.
Moreover, students were able to participate in a project and achieve the goals according to the lesson and
curriculum objectives. Some results of the research showed that some teachers still lack an understanding
of writing project reports, so further development management should be employed during supervision within
classrooms, where teachers and researchers should cooperate, further discuss development and successes,
and evaluate understanding and improving skills. Teachers who cover the five processes well will be noted
in their achievements.

Article Details

บท
บทความวิจัย