กลยุทธ์การขับเคลื่อนสุขภาวะของบุคคลในชุมชน โดยศูนย์ตุ้มโฮมลูกหลานบ้านเหล่าลิง;Strategies for Improving Community Health Care of People in Lau Ling Village through the Youth Center
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการที่ 1 เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางแก้ไขที่ชุมชนใช้แก้ปัญหาสุขภาวะ
ของบุคคลในชุมชน ประการที่ 2 เพื่อสร้างกลยุทธ์การขับเคลื่อนสุขภาวะของบุคคลในชุมชน โดยศูนย์ตุ้มโฮมลูกหลานบ้านเหล่าลิง
และประการที่ 3 เพื่อทดลองใช้และประเมินผลการใช้กลยุทธ์การขับเคลื่อนสุขภาวะของบุคคลในชุมชน โดยศูนย์ตุ้มโฮมลูกหลานบ้าน
เหล่าลิง ประชากร กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้ มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 113 คน
ที่ได้จากการคำนวณแล้วสุ่มอย่างง่าย จากประชาชนในตำบลบ้านดู่ ระยะที่ 2 เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 39 คน จากประชาชนบ้านเหล่าลิง
ตัวแทนองค์กรทางสังคม และผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน ที่เป็น เด็ก เยาวชน และประชาชน จากบ้าน
เหล่าลิง พื้นที่วิจัย คือ หมู่บ้านเหล่าลิง ตำบลบ้านดู่ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed
methodology) ประกอบกับนำกระบวนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community-based Research) ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ
วิจัยมาประยุกต์ใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบทดสอบวัดความรู้ การจัดเวทีเสวนา
ประชุมกลุ่มย่อย ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางแก้ไขที่ชุมชนใช้แก้ปัญหาสุขภาวะของบุคคลในชุมชน ในระดับตำบลบ้านดู่
อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด (ชาย 52 คน หญิง 61 คน) ปรากฏว่า สภาพปัญหาสุขภาวะโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยสภาพ
ปัญหาสุขภาวะที่มีคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ สุขภาวะทางด้านสติปัญญา สุขภาวะด้านกาย สุขภาวะด้านจิตใจและ สุขภาวะ
ด้านสังคม ตามลำดับ สภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาวะของบุคคลในชุมชน จากกลุ่มเป้าหมายชาวบ้านเหล่า
ลิง ปรากฏว่ามีสภาพปัญหาสุขภาวะในระดับมาก โดยมีค่าร้อยละของปัญหาจากมากถึงน้อย คือ สุขภาวะทางด้านสติปัญญา สุขภาวะ
ด้านกาย สุขภาวะด้านจิตใจ และสุขภาวะด้านสังคม ตามลำดับ โดยกลุ่มเป้าหมายมีความต้องการ คือ การได้รับความรู้ในการประกอบ
อาชีพ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และคนในชุมชนได้ใกล้ชิด
กับศาสนามากขึ้น สว่ นแนวทางแกไ้ ขปญั หาสุขภาวะ คือ ควรมีการแสวงหาความรเู้ พิ่มเติม ควรสง่ เสริมใหบุ้คคลมีความรกู้ ารดูแลสุขภาพ
ด้านการกินอาหารปลอดภัย การออกกำลังกาย ควรมีกลุ่มบุคคลที่มีการทำกิจกรรมร่วมกัน ควรส่งเสริมให้มีการดูแลช่วยเหลือกันของ
คนในชุมชน และควรทำกิจกรรมทางพุทธศาสนาร่วมกัน
2. กลยุทธ์การขับเคลื่อนสุขภาวะของบุคคลในชุมชน แบ่งได้ 2 ระดับ คือ 1) กลยุทธ์ระดับองค์กร (ศูนย์ตุ้มโฮมลูกหลานบ้าน
เหล่าลิง) ที่มี วิสัยทัศน์ นโยบาย พันธกิจ และเป้าประสงค์ โดยมุ่งส่งเสริมบุคคลในชุมชน กินดี อยู่ดี มีความสุข และมีส่วนร่วมในการ
เรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่สุขภาวะที่ดี และ 2) กลยุทธ์ระดับแผนงาน(โครงการ) 9 โครงการ คือ เกษตรพอเพียงปลอดสารพิษ งานบุญกลุ่มเรา
งดเหล้างดบุหรี่ ลงแขกทำนา-ออมทรัพย์ ธนาคารต้นไม้ในคันนา สามวัยใกล้ชิดวันอาทิตย์เข้าวัด รวมกลุ่มร่วมงานบุญประเพณี อบรม
สร้างอาชีพศึกษาดูงานต้นแบบสุขภาวะดี และชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้มุ่งสู่สุขภาวะ
3. ผลการทดลองใช้กลยุทธ์การขับเคลื่อนสุขภาวะของบุคคลในชุมชน ทำให้เกิดสุขภาวะตามตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้าน คือ จากการวัด
ค่าพื้นฐานทางกายของกลุ่มเป้าหมาย(เด็ก เยาวชนและประชาชน) พบว่า นํ้าหนัก ส่วนสูง ความดันและรอบเอว เมื่อนำมาเทียบกับเกณฑ์
วัยเด็กและเยาวชน จะมีการเจริญเติบโตสมวัย ประชาชน(วัยผู้ใหญ่) มีค่าปกติตามเกณฑ์ ระดับความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายต่อ
สุขภาวะด้านกาย สุขภาวะด้านจิตใจและสุขภาวะด้านสังคม อยู่ในระดับมาก ส่วนสุขภาวะด้านสติปัญญา จากการทดสอบวัดความรู้
พบว่า หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
The objectives of this research were to analyze the problems, needs and strategies for
improving community health care of people in Lau Ling Village , to design strategies for improving the
community health care of people in Lau Ling Village through the youth center, and to implement and evaluate
the strategies. The research was divided into three phases. The samples of phase 1 were 113 people from
the villages in Ban Du Sub-district. They were calculated and selected by the simple random sampling
technique. The targeted population of phase 2 included 39 people consisting of Ban Lau Ling’s villagers,
experts, and representatives from social organizations. The targeted population of phase 3 was 40 participants
consisting of children, teenagers, villagers in Lau Ling Village. The research site was Lao Ling Village, of Ban
Du Sub-district, in Artsamart District, in Roi-Et Province. The mixed methodology and the community-based
research were employed for the study. The research instruments included a questionnaire, an interview form,
a comprehension test, public hearing and focus group discussion..
Results of the research were as follows:
The strategies for improving the community health were classified into 2 levels. The first level was
strategies at the organization level (the Youth Center in Lao Ling Village), which consisted of vision, policy,
missions and objectives. This level focused on improving well being of people in the community including
collaborative learning on health care. The second level was strategies at the planning level (projects) composing
9 projects, namely of none-toxin farming, no smoking or alcohol drinking in traditional events, collaborative
rice cultivating and saving, , growing tree on the rice filed ridges, three generations jointly going to the temple
on Sunday, jointly merit-making, training for careers, visiting sample communities with excellent health care
centers, and interactive learning for community of good health care.
The implementation of the strategies yielded healthy conditions in four aspects of the health indicator.
The basic physical appearances of the participants (children, youths, adults) regarding weight, height, blood
pressure and waist size were normal and in line with the health benchmark. The average level of the opinion
of the targeted population towards the physical, mental and social health conditions was high. In case of the
intelligence health condition, the finding indicated that participants’ post-test score in health knowledge was
significantly higher than that of the pre-test score at the .05 level.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา