การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ภาคตัดกรวยโดยใช้โปรแกรมจีเอสพี (GSP) ที่เน้นการเชื่อมโยงสู่สถานการณ์จริง;The Development of Mathematics Learning Management using the Inquiry-Based Learning Approach on the Topic of “Conic

Main Article Content

ยุพิน พลเรือง1 Yupin Pholrueang1
นงลักษณ์ วิริยะพงษ์2 Nongluk Viriyapong2
มนชยา เจียงประดิษฐ์3 Monchaya Chiangpradit3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของ
นักเรียนที่เรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้เรื่อง ภาคตัดกรวย โดยใช้โปรแกรมจีเอสพี ที่เน้นการ
เชื่อมโยงสู่สถานการณ์จริงกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสารคามพิทยาคม
อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบ
วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Hotelling’s T2
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ภาคตัดกรวย โดยใช้โปรแกรมจีเอสพี ที่เน้นการเชื่อม
โยงสู่สถานการณ์จริง และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 84.74/83.58 และ
81.20/79.11 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ภาคตัดกรวย โดยใช้โปรแกรมจี
เอสพีที่เน้นการเชื่อมโยงสู่สถานการณ์จริง และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7476 คิดเป็นร้อยละ
74.76 และ 0.6903 คิดเป็นร้อยละ 69.03 ตามลำดับ
3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ภาคตัดกรวย โดยใช้โปรแกรมจีเอสพีที่เน้น
การเชื่อมโยงสู่สถานการณ์จริงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการ
จัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ภาคตัดกรวย โดยใช้โปรแกรมจีเอสพี ที่เน้นการเชื่อมโยงสู่สถานการณ์จริง มีระดับความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

The purposes of this research are: to compare the learning achievement and the ability in solving
mathematics problems of the 10th Grade students between the inquiry - based learning approach and the
regular learning management on the topic of “Conic Sections with the Geometer’s Sketchpad Program based
on real situations. The sample groups used in this research were 10th grade students of Sarakhampittayakhom
School, Mueang district, Maha Sarakham province. The instruments used in the study consisted of Lesson
plans, an achievement test, and mathematical ability test, and a questionnaire. The Hotelling’s was employed
for hypothesis testing.
The research results are as follows:
1. The efficiency index of the lesson plans of the mathematics learning management using the
inquiry - based learning approach with the Geometer’s Sketchpad Program based on real situations
of 10th grade students on the topic of Conic Sections and the regular learning management meeting the
standardized criteria was 84.74/83.58 and 81.20/79.11, respectively.
2. The effectiveness index of the lesson plans using the inquiry-based learning approach with the
Geometer’s Sketchpad Program based on real situations and the lesson plans using the regular learning
management on the topic of Conic Sections was 0.7476, and 0.6903. The percentage of two sets of lesson
plans was 74.76 and 69.03% respectively.
3. The average achievement score of the students who were taught by the lesson plans using the
inquiry-based learning approach with the Geometer’s Sketchpad Program based on real situations on the
topic of “Conic Sections with the Geometer’s Sketchpad Program was significantly higher than that of the
regular learning management at the .05 level of the statistical significance.
4. The average level of the satisfaction of the students with the lesson plans using the inquiry-based
learning approach with the Geometer’s Sketchpad Program based on real situations on the topic of “Conic
Sections with the Geometer’s Sketchpad Program was at a high level.

Article Details

บท
บทความวิจัย