ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของมิติที่มีอิทธิพลต่ออัตลักษณ์ผ่านการรับรู้ความสามารถในตนของ นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ; A Casual Relationship of Influencing Dimension on Identity through Self-efficacy of Undergraduate Students at Faculty of

Main Article Content

บุญฑวรรณ วิงวอน1 Boonthawan Wingwon1

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามิติที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ และศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของมิติที่มีอิทธิพลต่ออัตลักษณ์
ผ่านการรับรู้ความสามารถในตนของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสุ่ม
แบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาทุกสาขาวิชาและทุกชั้นปีของคณะวิทยาการจัดการ จำนวน 395 คน สถิติพรรณนาวิเคราะห์ค่า
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม PLS Graph 3.0 ผลการวิจัยพบว่า
นักศึกษาทุกสาขาวิชาของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ศึกษา
อยู่ชั้นปีที่ 2 รองลงมาอยู่ชั้นปีที่ 1 และ 3 ในสัดส่วนเท่ากัน ผู้ปกครองประกอบอาชีพเกษตรกร สังกัดสาขาวิชาการจัดการมากที่สุด รอง
ลงมา คือ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ บัญชี นิเทศศาสตร์ และการตลาด ส่วนใหญ่นักศึกษายื่นขอเงินกู้ พักอาศัยอยู่หอพัก
รองลงมา คือ พักอาศัยอยู่กับพ่อ-แม่ เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่านักศึกษาให้ความสำคัญกับมิติด้านอัตลักษณ์มากที่สุด รองลงมา
คือ ด้านการสนับสนุนจากเพื่อนหรือครอบครัว ด้านการรับรู้ความสามารถในตน ด้านการสนับสนุนจากสถาบัน และด้านการสนับสนุน
จากสังคม
ผลวิเคราะห์ด้วยสมการโครงสร้างพบว่า การรับรู้ความสามารถในตนมีอิทธิพลทางตรงต่ออัตลักษณ์ (0.545) รองลงมา คือ
การสนับสนุนจากสังคมมีอิทธิพลต่อการรับรู้ความสามารถในตน (0.405) ลำดับต่อมาการสนับสนุนจากครอบครัวมีอิทธิพลทางตรงต่อ
การรับรู้ความสามารถในตน (0.333) และลำดับสุดท้าย คือ การสนับสนุนจากสถาบันมีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรู้ความสามารถในตน
(0.151) โดยทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ต่ออัตลักษณ์ผ่านการรับรู้ความสามารถในตนของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ

Thepurposes of this researchwere to study those relevant dimensions with identity and to study the
casual relationship of influencing dimension on identity through self-efficacy of undergraduate students at
Faculty of Management Sciences, LampangRajabhat Universitymaking use ofquantitative research technique.
The subjects consisted of 395 students of all classes at Faculty of Management Sciences, selected through
purposive sampling. Descriptive statistics was analyzed bypercentage, mean, standard deviation and 

inferential statistical analysis with PLS Graph 3.0 program.
The outcomes of the research revealed that the majority of students was female who were over 20
years old at the second year students and followed by the first year and third year students in equal proportion.
The profession of parents was farmer, with major in management sciences and followed by business computers,
accounting, communication arts and marketing. The majority of students was on student loans, dormitory
and followed by staying with parents. The overall review revealed that students valued the importance of
identity dimension at the highest level and followed by peer or family supports, self-efficacy, institutional
supports and social supports respectively.
The outcomes of structural equation analysis revealed that the self-efficacy had directlyinfluent toward
identity (0.545), followed by social supports which had influence toward self-efficacy (0.405) and the family
supports had influence toward self-efficacy (0.333) and lastly was the institutional supports had directly influent
toward self-efficacy (0.151). All factors had relationship on identity through self-efficacy of students at Faculty
of Management Sciences.

Article Details

บท
บทความวิจัย