ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการบริหารความเสี่ยง ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย;Critical Success Factors Affecting the Risk Management ofRajabhat Universities in Thailand
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ประการแรก เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏใน
ประเทศไทย ประการที่สองเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยงกับการดำเนินงานการบริหาร
ความเสีย่ งของมหาวิทยาลยั ราชภัฏในประเทศไทย และประการทีส่ ามเพือ่ คน้ หาตัวแปรพยากรณท์ ี่ดที ี่สุดและสรา้ งสมการพยากรณข์ อง
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่
ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางของมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 282 คน เครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วน
ประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า การบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน โดยเรียงค่า
เฉลี่ยระดับการบริหารความเสี่ยง จากมากไปน้อย คือ ด้านการติดตามประเมินผล ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ ด้านการจัดการความ
เสี่ยง ด้านการประเมินความเสี่ยง และด้านการระบุความเสี่ยง
2. ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยงกับการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง ระหว่าง .407-585 และเป็นความ
สัมพันธ์ทางบวก
3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย โดย
ภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ ปัจจัยด้านนโยบายและกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยง ปัจจัยด้านวัฒนธรรม
องค์การ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ และปัจจัยด้านระบบสารสนเทศและการสื่อสาร มีสมการทำนาย ดังนี้
The objectives of this research were to 1) study the operation level on risk management of Rajabhat
Universities in Thailand, 2) study the relationship between critical success factors on the risk management
and the operation of risk management and 3) search the best predicting variables and create the predicting
equation of the critical success factors that influenced the risk management. The subjects used in this research
consisted of 282 top and middle managers of Rajabhat Universities. The instrument used in the research
wasa five rating-scale questionnaire with 0.97 of reliability. The statisticsused for analyzing data were
percentage, mean, standard deviation, multiple correlation coefficient and stepwise multiple regression
analysis. The results of the research revealed that:
1. The overall of the management’s operation on the risk management was rated at a high level.
Considered eachaspect, the five aspects were rated at a high level difference from high to low: following up
and evaluating, objective determining, risk managing, risk evaluating and risk specifying.
2. The critical success factors related to the operation of risk management was rated at a moderate
level between .407-585 at a significance of .01level and it was a positive relationship.
3. The critical success factors on risk management affecting risk management was significantly different
at 0.01 level as a whole such as policy and strategy on risk management, organizational culture, leadership,
and factor of information system and communication.The prediction equations can be shown as follows:
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา