การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยวิธีการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง กำหนดการเชิงเส้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6; Development of Mathematics Learning Activities by Emphasizing Inquiry Teaching on the Linear Programming for Mathayomsuksa 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยวิธีการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความ
รู้และวิธีการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องกำหนดการเชิงเส้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ 75/75 ประการที่ 2 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผล
ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และวิธีการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องกำหนดการเชิงเส้น ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 ประการที่ 3 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนเรื่อง กำหนดการเชิงเส้น ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบสืบเสาะ
หาความรู้ กับนักเรียนที่ด้วยเรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบปกติ และประการที่ 4 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยวิธีการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องกำหนดการเชิงเส้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวังกระแสวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
จำนวน 2 ห้องเรียน ได้แก่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 เรียนโดยวิธีการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 21 คน และ ชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 6/2 เรียนโดยวิธีการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 18 คน โดยที่จัดห้องเรียนแบบคละความสามารถ ซึ่งได้จากการวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม
(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ จำนวนรูปแบบละ 18 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวมเวลาเรียนรูปแบบละ 18 ชั่วโมง แบบ
ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง กำหนดการเชิงเส้น เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
และแบบวัดความพึงพอใจในการเรียนรู้ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage)
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า
1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.43/80.79 และแผนการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบปกติมีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.01/75.19 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ
หาความร ู้ มดี ัชนีประสิทธิผลเทา่ กับ 0.7063 แสดงวา่ นักเรียนมีความกา้ วหนา้ ทางการเรียนเพิม่ ขึน้ รอ้ ยละ 70.63 และแผนการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบปกติ มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6349 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 63.49 3) นักเรียน
ที่เรียนโดยวิธีการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยวิธีการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่เรียนโดยวิธีการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้มีความพึงพอใจในการเรียนรู้ในระดับมาก
The purposes of this study were : 1) to develop learning activity of mathematics using inquiry approach
and conventional teaching for Mathayomsuksa 6 students with a required efficiency of 75/75, 2) to find
out effectivenessindices of those two types of learning activities, 3) to compare learning achievement
mathematics, and 4) to investigate students’ satisfaction with learning by using inquiry approach. The
samples used in the study consisted of two classes of Mathayomsuksa 6 students attending
Wangkrasaewittayakhom School, Mueang District, Nakhonphanom Province in the first semester of the
academic year 2013. One of these two classes was selected to be taught by inquiry approach and the
other to be taught by conventional teaching, Each class consisted of 21 and 18 students respectively
selected through cluster random sampling technique. The instruments used in the study were: 18 lesson
plans for learning activities using inquiry learning approach and conventional teaching for18 hours of
teaching, a 30–item achievement test, and 20 – item rating–scale questionnaires on learning satisfaction by
using inquiry approach.The statistics used for analyzingdata were mean, percentage, standard deviation,
and t–test (Independent-Samples) for hypothesis testing.
The results of the study were as follows:1) The lesson plans of learning activities had efficiencies E1/E2
of 80.43/80.79. 2) the lesson plans of learning activities base on conventional approach had efficiencies of
75.01/ 75.19 which were higher than the required criterion of 75/75. 2) The effectiveness indices of plans using
inquiry approach were 0.7063 showing that the students progressed their learning at 70.63 percent. The
effectiveness indices of lesson plans using conventional approach were 0.6349; showing that the students
progressed their learning at 63.49 percent. 3) The students who learned using the learning activities base on
inquiry approach indicated learning achievement more than students who learned using the conventional
approach at the 0.05 level of significance.4) The students showed satisfaction with learning activities based
on inquiry approach at a high level as a whole.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา