ผลการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนกับการเรียนตามคู่มือครู เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 Effectiveness of learning multiplication with Courseware vs Traditional Teachers with ninth grade students

Main Article Content

ดาวประกาย บุญแต่ง1 Dawprakai Boontaeng1
ประยุกต์ ศรีวิไล2 Prayook Sriwilai2
พนิดา เล้าชาญวุฒิ3 Panida Loutchanwoot3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาโปรแกรมบทเรียน เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ประการที่สอง เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียน เรื่อง การคูณ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประการที่สาม เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การคูณ กลุ่ม
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนกับการเรียนตามคู่มือครู ประการที่สี่ เพื่อเปรียบเทียบ
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน
กับการเรียนตามคู่มือครู และประการที่ห้า เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยโปรแกรมบท
เรียน เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านหนองนกคู่ จำนวน 19 คน และโรงเรียนห้วยบงวิทยา ตำบลท่าลาด
อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยแบ่งออกเป็นก
ลุ่ม ดังนี้ กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองนกคู่ ตำบลท่าลาด อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา
จำนวน 19 คน เป็นกลุ่มที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน กลุ่มควบคุม คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนห้วยบงวิทยา ตำบล
ท่าลาด อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 19 คน เป็นกลุ่มที่เรียนตามคู่มือครูเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) โปรแกรมบทเรียน เรื่อง
การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 หน่วยการเรียนเวลา 18 ชั่วโมง 2) แผนการจัดการเรียนรู้
เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 แผนเวลา 18 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนเรื่องการคูณกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30
ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.72 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.97 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์
คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อโดยมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่
0.58 ถึง 0.79 และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.46 ถึง 0.86 และค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.95 5) แบบวัดเจตคติต่อการเรียน
คณิตศาสตร์ที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้โปรแกรมบทเรียน เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบ่งความพอใจเป็น 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก
รายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.49-0.89 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง

เบนมาตรฐาน และ t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. โปรแกรมบทเรียน เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.95/81.58
2. ดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียน เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 0.65
แสดงว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 65
3. นักเรียนที่เรียนโปรแกรมบทเรียนเรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนตามคู่มือครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนที่เรียนโปรแกรมบทเรียนเรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถใน
การคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่เรียนตามคู่มือครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ของนักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

The purposes of this research involving ninth graders were: 1) to develop courseware to learn
multiplication with a required efficiency of 80/80 2) to determine the effectiveness index of the developed
courseware, 3) to compare effectiveness of using the courseware vs a traditional teacher 4) to compare
analytical thinking between using the courseware and a traditional teacher and 5) to study the attitude towards
learning with courseware vs a traditional teacher. The sample consisted of 19 ninth grade students at Ban
Nong Nok Koo School, Tambon Thalad, Amphoe Chumpuang, Changwat Nakornratchasima in the first
semester of the academic year 2012 learning using courseware, obtained using the cluster random sampling
technique. A control group of 19 ninth grade students at Ban Hui Bong Wittaya School, Tambon Thalad,
Amphoe Chumpuang, Changwat Nakornratchasima learning by using a traditional teacher. The instruments
used in this study were: 1) courseware to learn multiplication comprised of five learning units for 18 hours 2)
plans for learning multiplication with five plans for 18 hours 3) a 30-item, four-choice achievement test on
multiplication for grade nine students with discriminating powers (B) ranging .33-.72 and a reliability of .97 4)
a 20-item four-choice test of analytical thinking with difficulties (p) ranging .58-.79, discriminating powers (r)
ranging .46-.86 and a reliability (KR – 20) of .95 and 5) a 15-item rating-scale of attitude towards mathematics
learning with discriminating powers (rxy) ranging 0.49-0.089 and a reliability () of .93. The statistics used in
the study were percentage, mean, standard deviation, and t-test (Independent Samples)
The research results are :
1. The developed courseware for learning multiplication for ninth graders had an efficiency of
83.95/81.58.
2. Courseware students had learning progress at 65 percent.
3. The students using courseware for learning multiplication showed a higher learning achievement
mean score than those using a traditional teacher at the .01 level of significance.
4. The students who learned multiplication using the courseware showed a higher analytical thinking

mean score after learning at the .01 level of significance.
5. The students using courseware displayed analytical thinking as a whole at a high level.

Article Details

บท
บทความวิจัย