การศึกษาระดับการดำเนินงานการบริหารหลักสูตรของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนกลุ่มเครือข่าย พัฒนาการศึกษาโสมพระมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 A Study of Curriculum Administration Levels of School Administrators in Sompramit Educatio
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหาร ครู และ
คณะกรรมการสถานศึกษา ในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาโสมพระมิตรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาฬสินธุ์ เขต 1
ประการที่สอง เปรียบเทียบระดับการดำเนินงานการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ที่วุฒิ
การศึกษาและประสบการณ์ในตำแหน่ง แตกต่างกัน และประการที่สาม รวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะการดำเนินงานการบริหาร
หลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาโสมพระมิตรสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษา กาฬสินธุ์ เขต 1 และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการ
สถานศึกษา จำนวน 196 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ประกอบการบรรยาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ F - test (one way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการดำเนินงานการบริหารหลักสูตรของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาโสมพระมิตร
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับค่อน
ข้างมาก 1 ด้าน ดังนี้ ด้านการปฏิบัติการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย 6 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปหา
น้อย ดังนี้ ด้านการดำเนินการจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการปรับปรุง และพัฒนากระการบริหารจัดการหารหลักสูตรด้าน
การนิเทศก์ กำกับ ติดตามผลการดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตร ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ด้านสรูปผลการดำเนิน
การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการกำหนดแผนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
2. เปรียบเทียบระดับการดำเนินการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ที่วุฒิการศึกษา
และประสบการณ์ในการทำงานตำแหน่งแตกต่างกัน
2.1 เปรียบเทียบระดับการดำเนินการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา
ที่มีสถานภาพแตกต่างกัน พบว่า การดำเนินงานการบริหารหลักสูตรของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษา
โสมพระมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ที่มีสถานภาพแตกต่างกัน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน การเปรียบเทียบรายคู่ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกคู่
2.2 เปรียบเทียบระดับการดำเนินการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ที่มีวุฒิ
การศึกษาแตกต่างกัน โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน
2.3 เปรียบเทียบระดับการดำเนินการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา
ที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน
พบว่า ด้านสรูปผลการดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการปรับปรุงและพัฒนากระการบริหารจัดการหารหลักสูตร
ไม่แตกต่าง
เปรียบเทียบรายคู่การดำเนินงานการบริหารหลักสูตร พบว่า ประสบการณ์ในการทำงาน 1 - 5 ปี มีความแตกต่างกันอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับ ประสบการณ์ในการทำงาน 6 - 10 ปี และประสบการณ์ในการทำงาน มากกว่า 10 ปี ส่วนประสบการณ์
ในการทำงาน 6 - 10 ปี ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับ ประสบการณ์ในการทำงาน มากกว่า 10 ปี
This research aimed to 1) study the levels of curriculum administration among school administrators,
teachers and school committee members in Sompramit Educational Development Network under Kalasin
Office of Primary Education Service Area 1; 2) compare the levels of curriculum administration of school
administrators, teachers and school committee members of different educational qualifications and work
experience; 3) compile problems and recommendations on the curriculum administration of school
administrators, teachers and school committee members in Sompramit Educational Development Network
under Kalasin Office of Primary Education Service Area 1. The target group consisted of 196 subjects who
were administrators, teachers and school committee members. The statistics employed in data analyses
were frequency, percentage, mean, and F-test (one-way ANOVA).
The results revealed the following:
1. The overall level of curriculum administration of school administrators in Sompramit Educational
Development Network under Kalasin Office of Primary Education Service Area 1 was found in the low level
When specific aspects were considered , the following were found: one aspect, operation of the curriculum
administration, was found in the high level there were six aspects found in the rather low level: writing the
school-based curriculum strands, improvement and development of the curriculum administration process,
supervision, directing, and following-up the operation of the curriculum administration, educational institution
preparation, conclusion of the curriculum administration operation, and setting the plan of the school-based
curriculum administration .
2. Comparison of the levels of the school-based curriculum administration of the administrators,
teachers and school committee members according to different educational qualifications and work experience
revealed the following:
2.1 The overall levels, as well as those of every specific aspect, of operation of curriculum
administration among administrators, teachers and school committee members of different statuses were
statistically different at the .05 level of significance. The paired test also revealed the difference with statistical
significance at the .05 level in every pair.
2.2 The comparison of the levels of curriculum administration among administrators, teachers
and school committee members of different educational qualifications revealed that, on the whole, there was
a difference with statistical significance at the .05 level on every aspect.
2.3 The comparison of the levels of curriculum iadministration of the administrators, teachers
and school committee members of different work experiences revealed that, on the whole, there was a
difference with statistical significance at the .05 level. When studied by aspect, it was found that there was
no difference in their curriculum administration regarding conclusion of curriculum administration and
improvement and development of the curriculum implementation process.
Regarding paired comparison, it was found that there was a difference with statistical significance
at the .05 level in curriculum administration of subjects with 1-5 years of work experience and those with 6-10
years and over of work experience. However, there was no difference at the .05 level of statistical significance
in curriculum administration of those with 6-10 years of work experience and those over 10 years of work experience.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา