การศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 The Study of School-Based Management of School Administrators under Maha Sarakham Office of Primary Educational Service Area 2

Main Article Content

นวพร นุ่นหลักคำ1 Nawaporn Noonlakkam1
ศิริ ถีอาสนา2 Siri Thee-asana2
วรวรรณ อุบลเลิศ3 Worawan Ubonloet3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหาร เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับ
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหาร และศึกษาแนวทางในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับผู้บริหาร สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และ ประธานคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 331 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วย
การสนทนากลุ่มทั้งหมด 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบ
บันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่และร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า
ความแปรปรวนแบบสองทางวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลที่ได้จากการสนทนา
กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า
สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 โดย
รวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโดยรวม พบว่า
สถานภาพที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ.05 แต่วุฒิการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารโดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนข้อเสนอแนะที่จะใช้เป็นแนวทางใน
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 พบว่า ผู้บริหาร
ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรอบรู้ต่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม สร้างเครือข่ายการทำงาน
ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารด้วยวิธีการที่หลากหลายร่วมกับชุมชนและองค์กรต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างความสมัครสมาน
สามัคคีในการจัดการศึกษา และจัดให้มีการระดมทุนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาจากองค์กรต่างๆเพื่อให้มีทุนทางการศึกษากับผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและทันสมัย

The purposes of this research were to study the school-based management condition of school
administrators, to compare opinions toward school-based management condition, and to study the school-based
management suggestions of the school administrators under Maha Sarakham Office of Primary Educational
Service Area 2. The sample population of 331 people obtained through stratified random sampling consisted
of school administrators, teachers and chairpersons of primary school committees; and 9 informants who
provided information and advice on school-based management. The instruments used in collecting data were
a 5-rating-scaled questionnaire and a focus-group discussion record form. The statistics used in data analyses
were frequency, percentage, mean, standard deviation, two-way ANOVA and content analysis.
The results of the research were as follows:
The overall condition of school-based management of the schools under Maha Sarakham Office
of Primary Educational Service Area 2 was found at a high level. The opinions of different status groups toward
school-based management were statistically different at the.05 level of significance, but analyses of their
opinions based on their educational levels revealed no significant differences. Regarding their suggestions
on school-based management, the study revealed the following: the school administrators should encourage
personnel to acquire knowledge towards changes by using participatory administration, networking functions,
exchange of information with with community organizations using various methods in order to build solidarity
in education; school administrators should continuously provide funding to support educational management
and scholarships for students

Article Details

บท
บทความวิจัย