การพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนหนองชุมแสงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ Teacher Development in Classroom Research of NongChoomsangWittayakom School, Kalasin Provincial Administrative Organization

Main Article Content

ปิยะกรณ์ ภูขาว1 Piyakorn Pukao1
ชยากานต์ เรืองสุวรรณ2 Chayakan Ruangsuwan 2
สุทัศน์ แก้วคำ3 Suthas Kaewkham3

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนหนองชุมแสงวิทยาคม สังกัดองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาครู และผลการพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน โดยการศึกษาเป็น 3 ระยะ
ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการดำเนินงาน ระยะที่ 2 การวางแผนและการดำเนินการพัฒนา ระยะที่ 3 การประเมินผลการพัฒนาการ
ทำวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ครู จำนวน 8 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบ 1 ฉบับ แบบสังเกต 1 ฉบับ แบบ
สัมภาษณ์ 3 ฉบับ แบบประเมิน 2 ฉบับ แบบบันทึกการประชุม 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ส่วนข้อมูลเชิง
คุณภาพ ตรวจสอบแล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอผลการวิจัยในลักษณะความเรียง ผลการวิจัยพบว่า
ผลการวิจัยเกี่ยวกับสภาพการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน
ขาดความรู้ในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ขาดความรู้ในการวิเคราะห์ข้อมูลรวมถึงการสรุปผล และการเขียนรายงาน
การวิจัย โดยกลุ่มผู้ร่วมวิจัยได้กำหนดแนวทางในการพัฒนา คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน ให้คำปรึกษาแนะนำ
จากผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านการวิจัยในชั้นเรียนอย่างใกล้ชิด สมํ่าเสมอ ผลการพัฒนา พบว่า กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความ
เข้าใจ และความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน ผลการทดสอบก่อนการอบรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้ คะแนนเฉลี่ย 13.25 หรือ
คิดเป็นร้อยละ 44.17 ภายหลังการพัฒนามีผลการทดสอบหลังการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสูงขึ้น ได้คะแนนเฉลี่ย 22.00 หรือคิดเป็น
ร้อยละ 73.33 แสดงว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนหลังการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ดี
ผลการพัฒนาเพิ่มขึ้น 8.87 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 23.67 การพัฒนาความรู้ความสามารถใน การเขียนเค้าโครงการวิจัย โดยรวม
อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 3.58 และผลการประเมินรายงานการวิจัยโดยรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 3.54

This research aimed to study classroom action research of NongChoomsangWittayakom School,
Kalasin Provincial Administrative Organization, to study guidelines for teacher development and to study the
results of teacher development in classroom action research. This research was conducted in 3 phases: The
first phase was to study the operation, the second phase was to planning and developmentand the third
phasewas to evaluate of classroom research.The target group for this study consisted of 8 teachers. The
instruments used in this study were a paper test, an observation form, 3 interview forms, 2 evaluation forms,
and a meeting minute form. Thequantitative data was analyzed by fundamental statisticswhile the qualitative
data were analyzed bydescriptive content and presented by essay.
Findings of the study regardingthe state of conducting classroomaction research revealed that the
teachers did not have knowledge and did not understand of classroom action research. They also lacked
knowledge in constructing instruments for collecting data, analyzing data, summarizing data and research
writingreports. The co-researcher set the following guidelines for teacher development such as workshop
training, internal supervision, counseling by experts regularly. The result of the study revealed that the
participants’ post-training mean score of knowledge, understanding and ability was 22.00 or 73.33 percent
which was higher than the pre-training mean score of 13.25 or 44.17 percent. This indicated that after the
workshop training the participants gained a good level of knowledge and understanding in classroom action
research research, which was increased of 8.87 or 23.67 percent. Their overall development in knowledge
and ability in writing research proposal was at a good level or 3.58 in average, and the overall evaluation of
their research report was also found at a good level or 3.54 in average.

Article Details

บท
บทความวิจัย