เกี่ยวกับวารสาร
สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นเวทีสำหรับนักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ นักศึกษาและบุคคลทั่วไปในการเผยแพร่ผลงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาการที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวกับด้านการศึกษา ในรูปแบบของบทความวิจัยและบทความวิชาการต้นฉบับ บทความวิจัยและบทความวิชาการที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ หรือ ได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ที่นำมาเรียบเรียงใหม่ และกลั่นกรองใหม่
กำหนดการเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ
ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน (เผยแพร่ทางเว็บไซต์ภายใน 30 มิถุนายน)
ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม (เผยแพร่ทางเว็บไซต์ภายใน 31 ธันวาคม)
การประเมินบทความ
ก่อนการเผยแพร่ ทุกบทความต้องได้รับการกลั่นกรองและประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง 3 ท่านที่มาจากต่างสถาบันกัน หากเป็นบทความภายในจะต้องได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเท่านั้น การประเมินบทความจะเป็นแบบ Double-blinded ผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน และผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์
ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์เผยแพร่
1. บทความวิจัย
2. บทความวิชาการ
ขอบเขตเนื้อหาในการตีพิมพ์
บทความวิจัยและบทความวิชาการที่มีเนื้อหาดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้
2. การบริหารการศึกษา การบริหารจัดการองค์กร
3. หลักสูตรและการสอน
4. การวัดและประเมินผล
5. จิตวิทยาและจิตวิทยาการศึกษา
6. การศึกษาปฐมวัย การประถมศึกษา
7. การสอนวิทยาศาสตร์ การสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป
8. นวัตกรรม เทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์
9. ภาษาศาสตร์ และภาษาศาสตร์ประยุกต์
10. การสอนภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ
11. นิติศาสตร์ ** งดรับการส่งบทความเข้าในระบบ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
12. ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ภาษาที่รับตีพิมพ์
- ภาษาไทย
- ภาษาอังกฤษ
เจ้าของวารสาร
- คณะศึกษาศาสตร์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
ค่าธรรมเนียมการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์
สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ ประกาศการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ ชำระครั้งเดียว หลังจากผ่านการตรวจ template เรียบร้อยแล้ว ดังนี้
ค่าธรรมเนียมการส่งบทความ 4,500 บาท/บทความ โดยทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสถาบันจำนวน 3 คน
ทั้งนี้ เริ่มใช้สำหรับบทความที่ส่งเข้ามาพิจารณา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป
ผู้นิพนธ์ชำระค่าธรรมเนียมการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ ผ่านธนาคารยูโอบี ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เลขที่บัญชี 462-02000-27 เท่านั้น
แนวปฏิบัติด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความของสิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ (Publication Ethics)
สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ ได้กำหนดแนวปฏิบัติด้านจริยธรรม สำหรับผู้เกี่ยวข้อง
ในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ไว้ดังนี้
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)
1) กํากับดูแลให้การดําเนินการของวารสารเป็นไปตามเป้าประสงค์และ ขอบเขตของวารสารถูกต้องตามหลักวิชาการจริยธรรมจรรยาบรรณเป็นไปตามมาตรฐานการจัดการ วารสารรักษาคุณภาพ และพัฒนาระบบจัดการวารสารให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ
2) พิจารณาตรวจสอบบทความที่ส่งเข้ามาเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ เผยแพร่ ถึงความสอดคล้องตรงกับเป้าประสงค์และขอบเขตของวารสารรวมทั้งการตรวจสอบคุณภาพ ของบทความตามกระบวนการกลั่นกรองและประเมินคุณภาพก่อนมีการตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไป
3) รักษาความลับที่เกี่ยวข้องกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความรวมทั้งต้อง ควบคุมการประเมินบทความ โดยไม่ให้ผู้นิพนธ์ทราบว่าใครเป็นผู้ประเมินบทความของตนเองและผู้ ประเมินก็ไม่ทราบว่า ผลงานที่ตนเองกําลังประเมินเป็นการนิพนธ์ของใคร (double blinded)
4) จัดให้มีการตรวจสอบความซํ้าซ้อนการคัดลอกผลงานของผู้อื่นโดยใช้ โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์และระบบตรวจสอบ“Copy Catch”ของระบบการจัดการวารสาร Thai Jo สําหรับบทความภาษาไทยส่วนบทความภาษาอังกฤษใช้โปรแกรม Dupli checker หรือ turnitin หรือโปรแกรม อื่นที่ได้มาตรฐานและมีความเชื่อถือได้ ซึ่งมีความซํ้าซ้อนได้ไม่เกินร้อยละ 35 หากมีความซํ้าซ้อนเกินกําหนด บรรณาธิการต้องแจ้งให้ผู้นิพนธ์มีการปรับปรุงแก้ไขก่อนมีการตีพิมพ์เผยแพร่
5) ตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อขอรับการตีพิมพ์ว่าเคยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อนหรือไม่หากพบว่าเคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นมาก่อนแล้วต้องไม่รับพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ซํ้า
6) ดําเนินการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่เป็นไปด้วยความ โปร่งใสตรวจสอบได้ไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องในการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ของกอง บรรณาธิการและทีมงานที่เกี่ยวข้อง
7) บรรณาธิการต้องกํากับให้เป็นไปตามขั้นตอนต่างๆข้างต้น และต้องรักษามาตรฐานของ วารสารอย่างเคร่งครัดโดยการดําเนินการของบรรณาธิการต้องเป็นไปโดยเหตุผลทางวิชาการ เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการวิจัยและงานวิชาการให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
1) ผู้นิพนธ์ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาปรากฏในผลงาน ของตน โดยปราศจากการอ้างอิงให้ถูกต้องตามหลักวิชาการหากมีการพิมพ์ซํ้าหรือมีความซํ้าซ้อนกับผลงานของผู้อื่นต้องไม่เกินร้อยละ 35 หรือต้องมีการปรับปรุงแก้ไขตามที่บรรณาธิการแจ้งให้ทราบ
2) ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมาเพื่อขอรับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในสิกขา วารสารศึกษาศาสตร์เป็นของตนเองไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือสื่อใดมาก่อน
3) ผู้นิพนธ์ต้องนําเสนอผลงานวิจัยหรือข้อมูลทางวิชาการที่มีความสมบูรณ์ถูกต้องตามหลักวิชาการ และองค์ความรู้หรือข้อค้นพบที่ปรากฎอย่างตรงไปตรงมา
4) ผู้นิพนธ์ต้องนําเสนอผลงานตามวิจัยและงานวิชาการรูปแบบและวิธีการตามที่สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ กําหนดไว้เพื่อรับพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ และต้องปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณากลั่นกรองบทความและบรรณาธิการเสนอแนะ
5) ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งที่มาของทุนที่ให้การสนับสนุนในการทําวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้า ยกเว้นใช้ทุนส่วนตัว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ ในการนำเสนอผลงานเพื่อการตีพิมพ์
6) ผู้นิพนธ์ต้องไม่มีความสัมพันธ์หรือรู้จักเป็นการส่วนตัวกับผู้บริหาร หรือ ผู้ประเมินบทความที่ปรากฏในเว็บไซต์ของวารสาร เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนอันอาจจะเกิดขึ้น
7) ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อเสนอขอรับการตีพิมพ์บทความต้องรับรองว่าเป็นผู้นิพนธ์หรือมีส่วนร่วมในบทความวิจัยหรือบทความวิชาการนั้น ๆ
บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
1) ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความด้วยความเที่ยงตรงและให้ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ด้วยหลักการและเหตุผลทางวิชาการอย่างตรงไปตรงมา โดยคำนึงถึงคุณภาพของผลงานวิจัยและงานวิชาการเป็นสำคัญ
2) ผู้ประเมินบทความต้องรับพิจารณาในสาขาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญโดยพิจารณาถึง ความสําคัญของเนื้อหาในบทความที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ใหม่โดยใช้เหตุผล ทางวิชาการเป็นหลักในการพิจารณา ต้องไม่รับประเมินในเนื้อหาหรือสาขาที่ตนเองไม่ถนัด
3) ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความด้วยความซื่อสัตย์มีคุณธรรมรักษาความลับ โดยไม่ เปิดเผยข้อมูลบทความที่ผู้นิพนธ์ส่งมาเพื่อรับการประเมินแก่บุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณา
4) ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบหากพบว่ามีบทความใดที่ไม่เกิดประโยชน์และไม่เป็น ผลดีต่อวงวิชาการ หรือพบว่าผลงานที่ปรากฏมีการคัดลอกผลงานของผู้อื่นหรือมีความซํ้าซ้อนหรือ คล้ายคลึงกับผลงานของผู้อื่น
5) ผู้ประเมินต้องปฏิเสธที่จะประเมินบทความที่ตนเองอาจจะมีความสัมพันธ์หรือรู้จักกับผู้นิพนธ์ที่เป็นเจ้าของบทความนั้น ๆ เพื่อความเป็นอิสระในทางวิชาการและการประเมินบทความ
จริยธรรมวิจัยในมนุษย์ งานวิจัยที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ ต้องมีการแสดงออกถึงจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ ดังนี้
1) การให้ความเคารพสิทธิ์ศักดิ์ศรีความเป็นคนกลุ่มตัวอย่างหรืออาสาสมัครวิจัยต้องได้รับการบอก กล่าวและเป็นอิสระในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมโครงการวิจัย
2) ต้องเคารพความเป็นส่วนตัวรักษาความลับของกลุ่มตัวอย่างหรืออาสาสมัครวิจัยและไม่มุ่งแสวงหา ประโยชน์จากการวิจัยในกลุ่มคนที่อ่อนแอเปราะบางที่ไม่สามารถปกป้องตนเองได้
3) กลุ่มตัวอย่างหรืออาสาสมัครวิจัยต้องได้ประโยชน์จากการวิจัยและไม่มีความเสี่ยงจากการเข้าร่วม โครงการวิจัย
4) ต้องยึดหลักความยุติธรรมความเสมอภาคในการเข้าร่วมโครงการวิจัยของกลุ่มตัวอย่างหรือ อาสาสมัครวิจัย
5) กรณีทำการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคน ต้องมีใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากคณะกรรมการ พิจารณาของสถาบันหรือหน่วยงานนั้น ๆ