ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง
รูปแบบการจัดพิมพ์
สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ ได้จัดพิมพ์เป็น 2 รูปแบบทั้งรูปแบบบทความตีพิมพ์ (Print) และรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Online) โดยวารสารมีการจัดพิมพ์ในรูปแบบตีพิมพ์เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมาโดยมีการจัดพิมพ์ในรูปแบบบวารสารตีพิมพ์ (Print) และรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฏาคม-ธันวาคม 2557 ISSN 2408-1361 (Print)
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2558 ISSN 2408-1361 (Print)
และได้เริ่มจัดพิมพ์ในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2559 ISSN 2651-1045 (Online)
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฏาคม-ธันวาคม 2559 ISSN 2651-1045 (Online)
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2560 ISSN 2651-1045 (Online)
ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฏาคม-ธันวาคม 2560 ISSN 2651-1045 (Online)
ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2561 ISSN 2651-1045 (Online)
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2562 ISSN 2651-1045 (Online)
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฏาคม-ธันวาคม 2562 ISSN 2651-1045 (Online)
ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2563 ISSN 2651-1045 (Online)
ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฏาคม-ธันวาคม 2563 ISSN 2651-1045 (Online)
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2564 ISSN 2651-1045 (Online)
ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฏาคม-ธันวาคม 2564 ISSN 2651-1045 (Online)
ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 ISSN 2651-1045 (Online)
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฏาคม-ธันวาคม 2565 ISSN 2651-1045 (Online)
ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ISSN 2651-1045 (Online)
ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฏาคม-ธันวาคม 2566 ISSN 2985-2722 (Online)
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ISSN 2985-2722 (Online)
การเตรียมบทนิพนธ์ต้นฉบับ
สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ เปิดรับบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความวิจารณ์หนังสือที่เขียนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การใช้ภาษาอังกฤษที่ไม่ถูกหลักภาษาอาจส่งผลต่อการปฏิเสธรับบทความและส่งคืนเพื่อแก้ไขต่อไป บทความที่ส่งเข้ามาต้องอยู่ในเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร ซึ่งเป็นด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
บทความงานวิจัย หรือบทความวิชาการ ควรมีความยาวไม่เกิน 15 หน้า รวมถึงข้อมูลอ้างอิง ตาราง กราฟ แผนภูมิและตัวเลขต่าง ๆ
บทความวิจัย ผู้นิพนธ์ สามารถศึกษาโครงสร้างของบทความ ดังนี้ :
- ตั้งค่าขอบกระดาษทุกด้าน 2.54 ซม.
- ไม่เว้นบรรทัด
- ชื่อเรื่อง: ต้องมีความชัดเจน กระชับรัด และเขียนตัวอักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และตัวอักษรที่เหลือเป็นตัวพิมพ์เล็ก
- บทคัดย่อ :(จำนวนคำอยู่ระหว่าง 350-450 คำ) บทคัดย่อจะต้องมีข้อมูลเพียงพอสำหรับผู้อ่าน โครงสร้างประกอบด้วย 1. วัตถุประสงค์ 2. กลุ่มตัวอย่าง (การได้มาและวิธีการเลือก) 3. เครื่องมือ และการหาคุณภาพของเครื่องมือ 4. การวิเคราะห์ข้อมูล 5. ผลการวิจัย ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
- คำสำคัญ :(2-5 คำ) ใช้จัดทำดัชนี ควรใช้ต่างจากชื่อเรื่อง
- บทนำ: เป็นการให้ข้อมูลเบื้องหลังที่จำเป็นของบทความและทบทวนความรู้ที่มีอยู่และความสำคัญของปัญหา
- วัตถุประสงค์ เป็นการระบุวัตถุประสงค์ของการวิจัย และ/หรือระบุคำถามวิจัย
- วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการระบุการดำเนินการวิจัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวิจัย หรือเพื่อตอบคำถามวิจัย มีประชากรและกลุ่มตัวอย่างเครื่องมือวิจัยและกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล ในส่วนนี้ต้องอธิบายกระบวนการที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถทำซ้ำได้
- สรุปผลการวิจัย เป็นการให้ข้อสรุปของการค้นพบที่สำคัญ ไม่ควรยาวและซ้ำ แต่ควรแสดงสาระสำคัญของการศึกษาที่กล่าวถึงก่อนหน้า
- อภิปรายผล เป็นการอธิบายและตีความผลการค้นพบ เปรียบเทียบกับบริบทอื่น หรือปริบทที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน
- กิตติกรรมประกาศ (มีหรือไม่มีก็ได้โดยทั่วไปแล้วผู้นิพนธ์ไม่ควรเขียนขอบคุณบุพการี ญาติ และเพื่อน นอกจากนี้ผู้ที่มีชื่อในบทความวิจัย และหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัดอยู่ ไม่ควรเขียนขอบคุณ แต่ผู้นิพนธ์ควรจะเขียนขอบคุณแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุน*)
- ข้อเสนอแนะ เป็นการแนะนำทิศทางในอนาคตสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม
- รายการอ้างอิง ใช้ รูปแบบ APA 6th edition ถึงปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2567) และหลังจากนั้นวารสารจะใช้รูปแบบเป็น APA 7th ตั้งแต่ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2567) เป็นต้นไป
บทความวิชาการ ผู้นิพนธ์ สามารถศึกษาโครงสร้างของบทความ ดังนี้ :
- ตั้งขอบกระดาษทุกด้าน 54 ซม.
- โครงสร้างของบทความวิชาการมีดังนี้
- บทนำ
1.1 เหตุผลของการศึกษา
1.2 วัตถุประสงค์
1.3 ขอบเขตของการศึกษา
1.4 นิยามศัพท์
- เนื้อหา สำหรับเนื้อหาไม่มีการกำหนดหัวข้อรองที่ตายตัว ให้ขึ้นอยู่กับผู้นิพนธ์บทความ
- ส่วนสรุป
- กิตติกรรมประกาศ
- การอ้างอิง รายการอ้างอิง ใช้ รูปแบบ APA, 6th edition ถึงปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2567) และหลังจากนั้นวารสารจะใช้รูปแบบเป็น APA 7th ตั้งแต่ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2567) เป็นต้นไป
ค่าธรรมเนียมการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์
สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ ประกาศการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ ชำระครั้งเดียว หลังจากผ่านการตรวจ template เรียบร้อยแล้ว ดังนี้
ค่าธรรมเนียมการส่งบทความ 4,500 บาท/บทความ โดยทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสถาบันจำนวน 3 คน
ทั้งนี้ เริ่มใช้สำหรับบทความที่ส่งเข้ามาพิจารณา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป
ผู้นิพนธ์ชำระค่าธรรมเนียมการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ ผ่านธนาคารยูโอบี ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เลขที่บัญชี 462-02000-27 เท่านั้น
จึงแจ้งเพื่อทราบเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนแก่ผู้ใช้งานวารสารต่อไป
กองบรรณาธิการ สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์