จริยธรรมการตีพิมพ์
แนวปฏิบัติด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความของสิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ (Publication Ethics)
วารสาร สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ ได้กำหนดแนวปฏิบัติด้านจริยธรรม สำหรับผู้เกี่ยวข้อง
ในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ไว้ดังนี้
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)
1) กํากับดูแลให้การดําเนินการของวารสารเป็นไปตามเป้ าประสงค์และ ขอบเขตของวารสารถูกต้องตามหลักวิชาการจริยธรรมจรรยาบรรณเป็นไปตามมาตรฐานการจัดการ วารสารรักษาคุณภาพ และพัฒนาระบบจัดการวารสารให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ
2) พิจารณาตรวจสอบบทความที่ส่งเข้ามาเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ เผยแพร่ ถึงความสอดคล้องตรงกับเป้าประสงค์และขอบเขตของวารสารรวมทั้งการตรวจสอบคุณภาพ ของบทความตามกระบวนการกลั่นกรองและประเมินคุณภาพก่อนมีการตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไป
3) รักษาความลับที่เกี่ยวข้องกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความรวมทั้งต้อง ควบคุมการประเมินบทความ โดยไม่ให้ผู้นิพนธ์ทราบว่าใครเป็นผู้ประเมินบทความของตนเองและผู้ ประเมินก็ไม่ทราบว่า ผลงานที่ตนเองกําลังประเมินเป็นการนิพนธ์ของใคร (double blinded)
4) จัดให้มีการตรวจสอบความซํ้าซ้อนการคัดลอกผลงานของผู้อื่นโดยใช้ โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์และระบบตรวจสอบ“Copy Catch”ของระบบการจัดการวารสาร Thai Jo สําหรับบทความภาษาไทยส่วนบทความภาษาอังกฤษใช้โปรแกรม Dupli checker หรือ turnitin หรือโปรแกรม อื่นที่ได้มาตรฐานและมีความเชื่อถือได้ ซึ่งมีความซํ้าซ้อนได้ไม่เกินร้อยละ 35 หากมีความซํ้าซ้อนเกินกําหนด บรรณาธิการต้องแจ้งให้ผู้นิพนธ์มีการปรับปรุงแก้ไขก่อนมีการตีพิมพ์เผยแพร่
5) ตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อขอรับการตีพิมพ์ว่าเคยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อนหรือไม่หากพบว่าเคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นมาก่อนแล้วต้องไม่รับพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ซํ้า
6) ดําเนินการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่เป็นไปด้วยความ โปร่งใสตรวจสอบได้ไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องในการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ของกอง บรรณาธิการและทีมงานที่เกี่ยวข้อง
7) บรรณาธิการต้องกํากับให้เป็นไปตามขั้นตอนต่างๆข้างต้น และต้องรักษามาตรฐานของ วารสารอย่างเคร่งครัดโดยการดําเนินการของบรรณาธิการต้องเป็นไปโดยเหตุผลทางวิชาการ เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการวิจัยและงานวิชาการให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
1) ผู้นิพนธ์ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาปรากฏในผลงาน ของตน โดยปราศจากการอ้างอิงให้ถูกต้องตามหลักวิชาการหากมีการพิมพ์ซํ้าหรือมีความซํ้าซ้อนกับผลงานของผู้อื่นต้องไม่เกินร้อยละ 35 หรือต้องมีการปรับปรุงแก้ไขตามที่บรรณาธิการแจ้งให้ทราบ
2) ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมาเพื่อขอรับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในสิกขา วารสารศึกษาศาสตร์เป็นของตนเองไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือสื่อใดมาก่อน
3) ผู้นิพนธ์ต้องนําเสนอผลงานวิจัยหรือข้อมูลทางวิชาการที่มีความสมบูรณ์ถูกต้องตามหลักวิชาการ และองค์ความรู้หรือข้อค้นพบที่ปรากฎอย่างตรงไปตรงมา
4) ผู้นิพนธ์ต้องนําเสนอผลงานตามวิจัยและงานวิชาการรูปแบบและวิธีการตามที่สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ กําหนดไว้เพื่อรับพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ และต้องปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณากลั่นกรองบทความและบรรณาธิการเสนอแนะ
5) ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งที่มาของทุนที่ให้การสนับสนุนในการทําวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้า ยกเว้นใช้ทุนส่วนตัว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ ในการนำเสนอผลงานเพื่อการตีพิมพ์
6) ผู้นิพนธ์ต้องไม่มีความสัมพันธ์หรือรู้จักเป็นการส่วนตัวกับผู้บริหาร หรือ ผู้ประเมินบทความที่ปรากฏในเว็บไซต์ของวารสาร เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนอันอาจจะเกิดขึ้น
7) ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อเสนอขอรับการตีพิมพ์บทความต้องรับรองว่าเป็นผู้นิพนธ์หรือมีส่วนร่วมในบทความวิจัยหรือบทความวิชาการนั้น ๆ
บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
1) ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความด้วยความเที่ยงตรงและให้ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ด้วยหลักการและเหตุผลทางวิชาการอย่างตรงไปตรงมา โดยคำนึงถึงคุณภาพของผลงานวิจัยและงานวิชาการเป็นสำคัญ
2) ผู้ประเมินบทความต้องรับพิจารณาในสาขาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญโดยพิจารณาถึง ความสําคัญของเนื้อหาในบทความที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ใหม่โดยใช้เหตุผล ทางวิชาการเป็นหลักในการพิจารณา ต้องไม่รับประเมินในเนื้อหาหรือสาขาที่ตนเองไม่ถนัด
3) ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความด้วยความซื่อสัตย์มีคุณธรรมรักษาความลับ โดยไม่ เปิดเผยข้อมูลบทความที่ผู้นิพนธ์ส่งมาเพื่อรับการประเมินแก่บุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณา
4) ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบหากพบว่ามีบทความใดที่ไม่เกิดประโยชน์และไม่เป็น ผลดีต่อวงวิชาการ หรือพบว่าผลงานที่ปรากฏมีการคัดลอกผลงานของผู้อื่นหรือมีความซํ้าซ้อนหรือ คล้ายคลึงกับผลงานของผู้อื่น
5) ผู้ประเมินต้องปฏิเสธที่จะประเมินบทความที่ตนเองอาจจะมีความสัมพันธ์หรือรู้จักกับผู้นิพนธ์ที่เป็นเจ้าของบทความนั้น ๆ เพื่อความเป็นอิสระในทางวิชาการและการประเมินบทความ
จริยธรรมวิจัยในมนุษย์ งานวิจัยที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ ต้องมีการแสดงออกถึงจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ ดังนี้
1) การให้ความเคารพสิทธิ์ศักดิ์ศรีความเป็นคนกลุ่มตัวอย่างหรืออาสาสมัครวิจัยต้องได้รับการบอก กล่าวและเป็นอิสระในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมโครงการวิจัย
2) ต้องเคารพความเป็นส่วนตัวรักษาความลับของกลุ่มตัวอย่างหรืออาสาสมัครวิจัยและไม่มุ่งแสวงหา ประโยชน์จากการวิจัยในกลุ่มคนที่อ่อนแอเปราะบางที่ไม่สามารถปกป้องตนเองได้
3) กลุ่มตัวอย่างหรืออาสาสมัครวิจัยต้องได้ประโยชน์จากการวิจัยและไม่มีความเสี่ยงจากการเข้าร่วม โครงการวิจัย
4) ต้องยึดหลักความยุติธรรมความเสมอภาคในการเข้าร่วมโครงการวิจัยของกลุ่มตัวอย่างหรือ อาสาสมัครวิจัย
5) กรณีทำการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคน ต้องมีใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากคณะกรรมการ พิจารณาของสถาบันหรือหน่วยงานนั้น ๆ