การบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 โดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษา, การประยุกต์ใช้, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จำแนกตามที่ตั้งและขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 โดยเลือกแบบเจาะจงทั้ง 50 โรงเรียน โดยจำแนกตามขนาดของโรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 354 คน ทำการเก็บข้อมูลการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test, One-way ANOVA และทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการชองเชฟเฟ่ (Scheffé's Method)
References
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2551). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ.
จตุพร ลาภยิ่งยง. (2556). การศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ชญานิศ สมนา. (2556). การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
เบญจภรณ์ แผ่วสูงเนิน. (2556). สภาพปัจจุบันและปัญหาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ประทุมรัตน์ ธีระบุญชัยกุล. (2555). สภาพปัจจุบันและปัญหาการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ระพีพรรณ คณาฤทธิ์. (2554). การบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศรีพร แก้วโขง. (2554). การบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในศูนย์เครือข่ายสถานศึกษารัตนมิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุชาดา นันทะไชย. (2549). “แนวทางการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2557, จาก http://www.amin.edu.ku:ac.thlaritce/suchada.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร?. กรุงเทพฯ : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มูลนิธิสยามกัมมาจล.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.