การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการหน่วยการเรียนรู้ดนตรีกับวิถีชีวิตคนไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
integration, music and Thai way of lifeบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ 3) เพื่อศึกษาทักษะความสามารถด้านนาฏศิลป์และการแสดงของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ หน่วยการเรียนรู้ ดนตรีกับวิถีชีวิตคนไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ได้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผลของการวิจัยครั้งนี้ ใช้เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอน ผู้บริหาร และผู้ที่สนใจในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในเรื่องอื่นๆ ต่อไป ดำเนินการวิจัยโดยทำการทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดความรู้พื้นฐานของนักเรียนกลุ่มทดลองชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนบ้านโนนอุดมอุปถัมภ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 33 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ทั้ง 6 แผน เวลา 18 ชั่วโมง ทำการสอนจริงในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ มีค่าสอดคล้องตั้งแต่ 0.60-1.00 ค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.60-0.92 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22-0.85 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.90 ดำเนินการวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ภายหลังสิ้นสุดการสอนครบทั้ง 6 แผนแล้ว ทำการทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบชุดเดิมกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียนด้วยสถิติ t-test (Dependent) แล้วนำไปวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนนักเรียนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
References
จันทนา สัสดี. (2550). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องการละเล่นเด็กไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฉัตรลดา ปุณณขันธ์. (2548). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องเพลงไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2544). พฤติกรรมการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ ศรีนาง. (2546). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แผนการสอนแบบบูรณาการในโรงเรียนเปือยน้อยศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นันท์นภัส จันทจร. (2547). การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องวันเข้าพรรษา ชั้นนอนุบาลปีที่ 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย
บุญรัตน์ สิงห์พันดอน. (2549). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปวีนา ภูมิแดนดิน. (2551). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องทรัพย์ในดินท้องถิ่นของเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโคกคำวิทยา อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัย
พัชมณ โสมาบุตร. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิมลรัตน์ วงแสน. (2552). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง พลเมืองดีตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวทางการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).