การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พิชิต จรูญกิจพิศาล
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย อินทรประวัติ
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล หวังพานิช

บทคัดย่อ

การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู จำแนกตามขนาดสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานต่างกัน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ประกอบด้วย ด้านการใช้อิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2557 จำนวน 148 คน  จำแนกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 46 คน กลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.816 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่า t-test และ F-test 

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2552). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2552-2554). กรุงเทพฯ.

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2556). 58 คำตอบสู่ประชาคมอาเซียน 2558. กรุงเทพฯ : Page Maker.

กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2557). เอกสารการสอนวิชาการวางแผนการจัดการศึกษา. นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). การบริหารการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2556). เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและระบบบริหารการศึกษา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เฉลิม ศรีผดุง .(2539). นักบริหารของราชการไทยในอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักงาน ก.พ.

ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: แอล ที เพรส.

นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2551). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : เทียมฝ่า.

ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2557). เอกสารการสอนวิชาการบริหารการศึกษา. นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

ไพศาล หวังพานิช. (2556). เอกสารการสอนวิชาสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

เลขาธิการคุรุสภา, สำนักงาน. (2553). กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เล่ม 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2553). การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สงวนพงษ์ ชวนชม. (2556). เอกสารการสอนวิชาการบริหารการศึกษา. นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

สุวรรณ ทองคำ. (2545). สภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สำเริง แหยงกระโทก. (2553). 25 ศาสตร์การบริหาร. นครราชสีมา : องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา.

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานการศึกษามัธยมศึกษา. (2554). ยุทธศาสตร์การพัฒนางานสู่การปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ.

Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: The Free Press.

Bass, Bernard M. and Avolio, B.J. (1990). Manual for the multifactor leadership questionnaire. Palo Alto, California ; Consulting Psychologists.

Bass, B.M. & Avolio, B.J. (1994). Improving organizational effectiveness Though Transformational Leadership. Thousand Oak : Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-27

How to Cite

Share |