ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • เอกพันธ์ โห้พันธ์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ในรายวิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ในรายวิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ร้อยละ 60 3) ศึกษาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนที่สอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองยางพิทยาคม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 39 คน ซึ่งจัดนักเรียนโดยคละความสามารถแล้วเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการทำงานร่วมกัน และแบบสอบถามความพึงพอใจสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test)

References

กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

_______. (2551 ก.). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

_______ . (2551 ข.). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระ เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร.

ทวีศักดิ์ ไชยมาโย. (2537). คู่มือการปฏิบัติการการจัดทำแผนการสอน. นครพนม : วสัณพา.

นาตยา ปิลันธนานนท์. (2537). “หน่วยที่ 11 การพัฒนาการเรียนการสอนสังคมศึกษา (1)” ในประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะและวิทยวิธีทางวิชาสังคมศึกษา หน้า 118-233. นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญรักษ์ ชนูนันท์. (2552). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความด้วยรูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรรณิภา พลขาง. (2550). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านจับใจความโดยใช้แผนผังมโนทัศน์ ประกอบการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ว่าที่ร้อยตรีวิเวค บุตรโท. (2549). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบจิกซอว์ เรื่องพุทธประวัติและสาวก กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัลลภ กันทรัพย์. (2534). ข้อคิดเบื้องต้นในการสอนและการสอบที่เน้นกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

วีณา บุญปัทม์. (2550). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ สาระประวัติศาสตร์ เรื่องพัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญา นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหารสารคาม.

เศวตกนิษฐ์ ศรีสนาย. (2552). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค Jigsaw สาระประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมพร โยวะบุตร. (2550). ผลการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบบจิกซอว์และแผนที่ความคิดในวิชา สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สีอำพร วรวัตร. (2552). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดขอนแก่น โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ.

Best, John W. and Kahn, James V. (1986). Research in Education. 5th ed. New Jersey. Prentice-Hall. Capron, (1988) Computers Tools for an Information Age. 5th ed. U.S.A.

Johnson, David W. Johnson, Roger T. and Edythe Johnson Holubec. (1990). CIRCLES OF LEARNING: Cooperation in the Classroom. 3rd Corelia Drive Edina, Minnesota : Interaction Book Company.

Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Learning Theory, Research, and Practice. Maasachusetts : A Simon & Schuter Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-27

How to Cite

Share |