ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3

ผู้แต่ง

  • สุภาพร พักกระโทก
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิกุล ภูมิโคกรักษ์

คำสำคัญ:

การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา และศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3

            กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 153 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ หัวหน้างานวิชาการและครู เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า โดยเป็นข้อคำถามเกี่ยวกับกระบวนการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา 7 ภาระงาน คือ ด้านการเตรียมความพร้อม ด้านการจัดทำหลักสูตร ด้านการวางแผนการดำเนินการใช้หลักสูตร ด้านการดำเนินการบริหารหลักสูตร ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล ด้านการสรุปผลการดำเนินงาน และด้านการปรับปรุงพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการแจกแจงความถี่

ผลการศึกษาปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 พบว่า 1. มีปัญหาการบริหารงานหลักสูตรสถานศึกษาอยู่ในระดับน้อย  เมื่อพิจารณารายภาระงานพบว่า ทุกภาระงานอยู่ในระดับน้อย 2. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ การเตรียมความพร้อม ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวางแผนการดำเนินการใช้หลักสูตร ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และด้านการสรุปผลการดำเนินงาน เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่พบว่า ทุกคู่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ครูนั้นทำหน้าที่นำหลักสูตรสู่ห้องเรียน ครูควรรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา สภาพทั่วไปหรือบริบททั่วไปของสถานศึกษาเพื่อวางแผนในการแผนปฏิบัติการและแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา โดยนำนโยบายของต้นสังกัดมาเป็นกรอบในการบริหารจัดการ ครูจะต้องศึกษาวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดกับการจัดการเรียนการสอน โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้นและจัดตั้งคณะทำงานกำกับติดตามผลการดำเนินงานทั้งในส่วนรายละเอียดและภาพรวมของการบริหารจัดการหลักสูตร และที่สำคัญจะต้องนำข้อมูลดังกล่าวมาปรับปรุงพัฒนาให้สมบูรณ์

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว.

. (2546). การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : การศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)

กรมวิชาการ กองวิจัยทางการศึกษา. (2546). รายงานการติดตามผลการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนนำร่องและโรงเรียนเครือข่าย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. (2556). แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556.
นครราชสีมา : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2545). การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด, 2542.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พุทธศักราช 2550-2554. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2544). การปฏิรูปการศึกษาไทย..ในมุมประชาชน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ

. (2552). แนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษาของโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Carr J.F. & Harris D.E. (2001) Succeeding with standards: Linking curriculum, Assessment, and action planning. Association for Supervision and Curriculum Development, Virginia, U.S.A.

Codd, J., Gordon, L., & Harker, R. (1990). Education and the role of state : Devolution and control post-Picot, in H . Lauder & C. Wylie (ED) Toward Successful schooling. London, Palmer Press.

Good. C. V. (1997). Dictionary of Education. New York : McGraw_Hill.

Henson. K.T. (2001). Curriculum Planning. Boston : McGraw_Hill.

Kello,M.R. (1992,May). A Case Study of Curriculum Implementation : The Bunumbu Reform(Sierra Leone). Dissertation ABSTRACTs International 31 : 978-A.

Solomon, P. (1998). The curriculum bridge: From standards to actual classroom Practice. (corwin Press, INC., California.

Taba, Hilda. (1962). Curriculum : Theory and practice 29(3). Javanovich: Harcourt, Brace.

. (1978). Curriculum Development : Theory and Practice. New York : Harcourt, Brace and Word.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-27

How to Cite

Share |