การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • บูรินทร์ภัฏ พรหมมาศ

บทคัดย่อ

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น ถือเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ในท้องถิ่น ที่เกิดจากการกำหนดรูปแบบการศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการจัดการศึกษา โดยการกำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมายในการจัดการศึกษา เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน มุ่งสู่ผลลัพธ์ให้ประชาชนในท้องถิ่นเป็นคนดี มีอาชีพสุจริต สามารถดารงชีวิตอยู่ในท้องถิ่นได้อย่างมีความสุข ด้วยเหตุนี้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จึงได้กำหนดให้การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (School-based Management for Local Development : SBMLD) เป็นนโยบายในการพัฒนาโรงเรียนให้สามารถพัฒนาเยาวชนและประชาชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตและมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ตามอัจฉริยภาพของแต่ละบุคคล และการนำหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นนั้นมีหลักการ 5 ประการ คือ หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจากหน่วยงานต้นสังกัดไปยังโรงเรียนให้มากที่สุด โดยมีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาเด็ก หลักการมีส่วนร่วม (Participation or Collaboration or Involvement) เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมในการบริหาร ตัดสินใจ และร่วมจัดการศึกษา การที่เปิดโอกาสบุคคลต่างๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จะเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ และจะรับผิดชอบในการจัดการศึกษามากขึ้น หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน (Return Power to People) ในอดีตการจัดการศึกษาจะทำหลากหลายทั้งวัดและองค์กรในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมามีการร่วมการจัดการศึกษาไปให้กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เกิดเอกภาพและมาตรฐานทางการศึกษา แต่เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น ความเจริญต่างๆ ก้าวไปอย่างรวดเร็ว การจัดการศึกษาโดยหน่วยงานส่วนกลางเริ่มมีข้อจำกัด เกิดความล่าช้าและไม่สนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชนอย่างแท้จริง จึงต้องมีการคืนอำนาจให้ท้องถิ่นและประชาชนได้จัดการศึกษาเองอีกครั้ง หลักการบริหารตนเอง (Self-managing) ในระบบการศึกษาทั่วไป โรงเรียนไม่มีอำนาจในการตัดสินใจได้อย่างแท้จริง การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้น มีความเชื่อว่าวิธีการทำงานให้บรรลุเป้าหมายนั้นทำได้หลายวิธีการ หน่วยงานส่วนกลาง/หน่วยงานต้นสังกัดจึงควรทำหน้าที่เพียงกำหนดนโยบายและเป้าหมาย แล้วปล่อยให้โรงเรียนมีระบบการบริหารด้วยตนเอง โดยให้โรงเรียนมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินงาน ซึ่งอาจดำเนินการได้หลากหลายด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน แล้วแต่ความพร้อมและสถานการณ์ของโรงเรียน ผลที่ได้น่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม ที่ทุกอย่างกำหนดมาจากหน่วยงานส่วนกลาง/หน่วยงานต้นสังกัด ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม และหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) หน่วยงานส่วนกลาง/หน่วยงานต้นสังกัดมีหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมมาตรฐาน มีองค์กรอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นไปตามกำหนด และเป็นไปตามนโยบายของชาติ

References

Department Of Local Administration, Ministry Of The Interior. (2015). School-Based Management For Local Development : SBMLD. Bangkok : Department Of Local Administration.

Ministry Of Education. (2010). National Education Act 1999 And Amendment No. 3, 2010. Bangkok : Organization Of Transfer Products And Packging.

Phintanon, S. & Watthasunthon, K. (2012). School Based Management For Local Development : SBMLD. Bangkok : Etdumidia Publishing.

Runcharoen, T. & Other. (2011). Yutthasat Kan Borihan Chatkan Kansueksa Khong Ongkon Pokkhrong Suanthongthin (Opotho). Bangkok : Pimdee Co.,Ltd.

Watthasunthon, K. (2008). Kan Chatkan Sueksa Thongthin Baep Buranakan Phuea Songsoem Kan Rianru Talot Chiwit. Bangkok : Sematham Publisher.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-28

How to Cite

Share |