การสร้างระบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนกับการทำงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • ดร.อลงกต ยะไวทย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ดร.ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราพร โชติพฤกษ์ กลุ่มงานมาตรฐานและบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การบูรณาการการเรียนกับการทำงานระดับมัธยมศึกษา, การจัดประสบการณ์อาชีพ, การจัดการเรียนรู้ในสภาพจริง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยการสร้างระบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนกับการทำงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสำรวจสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามความต้องการของสถานประกอบการในเขตจังหวัดนครราชสีมา (2) เพื่อสร้างระบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนกับการทำงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และ (3) เพื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ ทัศนคติ และแรงจูงใจต่อการประกอบอาชีพและการเรียนอาชีวศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนกับการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา รุ่นปีการศึกษา 2559 จำนวน 4,255 คน สถานประกอบการในเขตจังหวัดนครราชสีมาทั้งภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม จำนวน 389 แห่ง แบ่งวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะที่ 2 สร้างระบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนกับการทำงาน ระยะที่ 3 ทดลองใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนนำร่อง 3 โรงเรียนๆ ละ 11 คน รวม 33 คน ด้วยความร่วมมือกับสถานประกอบการในเขตจังหวัดนครราชสีมา 7 แห่ง และระยะที่ 4 ประเมินผลและปรับปรุงระบบการจัดการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสำรวจสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามความต้องการของสถานประกอบการในเขตจังหวัดนครราชสีมา แบบประเมินความพึงพอใจการใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนกับการทำงานของนักเรียน แบบประเมินสมรรถนะและคุณลักษณะที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน และแบบประเมินภาพลักษณ์ ทัศนคติ และแรงจูงใจต่อการประกอบอาชีพและการเรียนอาชีวศึกษานักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการเรียนด้วย t-dependent test ในกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน และใช้แผนการศึกษาแบบ One Group Pre-test Post-test Design

ผลการวิจัย

1. ผลการสำรวจสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามความต้องการของสถานประกอบการในเขตจังหวัดนครราชสีมา ต้องการผู้สำเร็จการศึกษาที่มีความสามารถในการรับและส่งสาร สามารถเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ และมีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม มีความซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นในการทำงาน และมีวินัย

2. ระบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนกับการทำงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ (1) ก่อนการจัดการเรียนรู้ ต้องมีการเตรียมสถานศึกษา หลักสูตรการสอน ผู้สอน ผู้เรียน และสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ในบริบทของการทำงาน (2) ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ต้องให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภายใต้สถานการณ์จริง สามารถเชื่อมโยงความรู้จากชั้นเรียนมาสู่การปฏิบัติ ด้วยการแก้ปัญหา สามารถระบุความสำเร็จในการทำงาน และมีการให้คำปรึกษาและติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียน (3) หลังการจัดการเรียนรู้ ต้องมีการประเมินสมรรถะและคุณลักษณะของผู้เรียน กำกับ ติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง สามารถจัดได้ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ประสบการณ์ในอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เวลาเรียน 28 ชั่วโมง เลือกใช้ประเภทการติดตามพฤติกรรมการทำงาน (Job Shadowing) ให้นักเรียนเป็นผู้ติดตาม (Visitors/Guests) หรือเรียนรู้ประสบการณ์จากพฤติกรรมการทำงานของผู้ถูกติดตาม (Hosts /Idols) ที่ประสบความสำเร็จในการทำงานแล้วหรือเป็นบุคคลต้นแบบ และเคยเรียนในระดับอาชีวศึกษา

3. เปรียบเทียบภาพลักษณ์ ทัศนคติ และแรงจูงใจต่อการประกอบอาชีพและการเรียนอาชีวศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนกับการทำงาน พบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดมีระดับสูงขึ้นทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ภาษาไทย
ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท และคณะ. (2540). การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: พิศิษฐ์การพิมพ์.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2554). การพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปานเพชร ชินินทร และวิเชษฐ์ พลายมาศ. (2553). ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานสำหรับ
อุดมศึกษาไทย. รายงานการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 7 วันที่ 7-8 ธันวาคม พ.ศ.
2553. หน้า 1056-1063.
ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ยงยุทธ์ แฉล้มวงษ์. (2560). ตัวเลขว่างงานกับอนาคตอาชีพคนไทย ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. บทความทรัพยากรมนุษย์ ทีดีอาร์ไอชวน
อ่าน. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2017/06/unemployment-rate-in-digital-economy-era/
. (2558). แรงงานไทยในบริบทใหม่: การเรียนสายอาชีพเพื่อชาติ. บทความทรัพยากรมนุษย์ ทีดีอาร์ไอ ชวนอ่าน. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2015/08/thai-labour-force/
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2540). การประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสนาะ ติเยาว์. (2551). หลักการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาธรรมศาสตร์.
สุวิมล ติรกานันท์. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุเมธ แย้มนุ่น. (2547). สหกิจศึกษา: รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: วปรอ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). จุดเน้นเชิงนโยบาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐ
ศิลป์). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีฯ
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) (2556.) ความเป็นจริงในชีวิตเด็กเยาวชนไทย: โจทย์ท้าทายการ
ปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: แพรคทิเคิล ดีไซน์ สตูดิโอ จำกัด.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. (2556). สรุปโครงการพัฒนาอาชีพนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในสังกัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (อบจ. นม.). นครราชสีมา: เอกสารสำเนา.
. (2557). แบบรายงานข้อมูลการเข้าศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: เอกสารสำเนา.
อลงกต ยะไวทย์ และคณะ. (2558). การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานในสถาบันอุดมศึกษาที่
เหมาะสมกับกลุ่มสาขาวิชาชีพของประเทศไทย ระยะที่ 1 เฉพาะกลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ และกลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจ พาณิชศาสตร์ บัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว และเศรษฐศาสตร์. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.): เครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคใต้ตอนบน.
. (2560). การจัดทำแนวทางการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

โรมันสคริป
Chaisanit, D. And Others. (1997). Kan Khosana Lae Kan Songsoem Kan Khai.(4thEd).Bangkok : PhiSit K.Phim.
Chalaemwong, Y. (2015). Raengngan Thai Nai Boribot Mai : Kan Rian Sai Achip Phuea Chat. Botkhwam Sapphayakon Manut Thi Di A Ai Chuan An. Retrieved May, 2, 2018 From Https://Tdri.Or.Th/2015/08/Thai-Labour-Force/
. (2017). Tualek Wangngan Kap Anakhot Achip Khon Thai Nai Yuk Setthakit Dichithan. Botkhwam Sapphayakon Manut Thi Di A Ai Chuan An. Retrieved May, 4, 2018 From
Https://Tdri.Or.Th/2017/06/Unemployment-Rate-In-Digital-Economy-Era/
Chininthon, P. And Phlaimat, W. (2010). Patchai Khwamsamret Khong Kan Chatkan Sueksa Choeng Buranakan Kap Kan Thamngan Samrap Udomsueksa Thai. Conference Proceedings Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus 7th During 7-8 December, 2010. Pp. 1056-1063.
Khaemmani, T. (2012). Sat Kan Son : Ong Khwamru Phuea Kan Chat Krabuankan Rianru Thi Mi Prasitthiphap. Bangkok : Chulalongkorn University Press.
Lapirattanakun, W. (1997). Kan Prachasamphan. Bangkok : Chulalongkorn University Press.
Nakhon Ratchasima Provincial Administration Organization. (2013). Sarup Khrongkan Phatthana Achip Nakrian Chan Matthayomsueksa Pi Thi 6 Khong Rongrian Nai Sangkat Ongkan Borihan Suan Changwat Nakhon Ratchasima (Obocho Nakhon Ratchasima) Nakhon Ratchasima : Ekkasan Samnao.
. (2014). Baep Rai-Ngan Khomun Kan Khao Sueksa To Sai Achip Khong Nakrian Radap Matthayomsueksa Tonton Rongrian Nai Sangkat Ongkan Borihan Suan Changwat Nakhon Ratchasima. Nakhon Ratchasima : Ekkasan
Samnao.
Office Of The National Economics And Social Development Board, Prime Minister's Office. (2017). National Economic
And Social Development Plan No.12 (BE 2560 - 2564). Bangkok : Prime Minister's Office.
Office Of The Permanent Secretary, Ministry Of Education (2017). Chut Nen Choeng Nayobai Ratthamontriwakan
Krasuang Sueksathikan (Nai Thi Ra Kiat Charoen Set Sin). Bangkok.
The Office Of Social Promotion For Learning And Quality Of Youth. (2013). Khwampenching Nai Chiwit Dek Yaowachon
Thai : Chot Thathai Kan Patirup Kansueksa. Bangkok: Phraek Thi Khoen Design Studio.
The Secretariat Of The Cabinet. (2014). Khamthalaeng Nayobai Khong Khanaratthamontri Phon-Ek Prayut Chan Ocha Nayokratthamontri Thalaeng To Sapha Nitibanyat Haeng Chat Friday, September 12, BE. 2557. Bangkok : The Cabinet
Press Office And The Government Gazette.
Thumthong, B. (2011). Kan Phatthana Laksut. (3Rd Ed). Bangkok : Chulalongkorn University Press.
Tirakanan, S. (2001). Rabiap Withikan Wichai Thang Sangkhomsat Thang Sangkhomsat : Naeothang Su Kan Patibat. (3rd Ed). Bangkok : Chulalongkorn University Press.
Tiyao, S. (2008). Lakkan Borihan. (6Th Ed.). Bangkok : Thammasat University.
Wonkham, P. (2012). Kan Wichai Thangkan Sueksa. (5th Ed.). Maha Sarakham : Tak Sila Kan Phim.
Yaem Nun, S. (2004). Saha Kit Sueksa : Rupbaep Kan Chatkan Sueksa Phuea Khwam Mankhong Thang Setthakit Chut Krungthep Paiyannoi : Bangkok : Thailand National Defense College.
Yawai, A. And Others. (2015). Kansueksa Rupbaep Kan Chat Kanriankanson Choeng Buranakan Kap Kan Thamngan Nai
Sathaban Udomsueksa Thi Mosom Kap Klum Sakha Wichachip Khong Prathet Thai Raya Thi 1 Chapho Klum Sakha Wicha Witsawakamsat Lae Klum Sakha Wicha Borihan Thurakit Phanit Sat Banchi Kan Chatkan Kan Thongthiao
Lae Setthasat. Office Of The Higher Education Commission : Higher Education Development Network.
. (2017). Kan Chattham Naeothang Kan Chatkan Sueksa Choeng Buranakan Kap Kan Thamngan Radap Udomsueksa Khong Prathet Thai. Bangkok : Office Of The Higher Education : OHEC.
ภาษาอังกฤษ
Cooper, Ken. (2000). Effective Competency Modeling & Reporting: a Step-by-Step guide for Improving Individual &
Organizational Performance. CooperComm, Inc.
Cooper, L., Orrell, J. and Bowden, M. (2010). Work Integrated Learning: A guide to Effective Practice. New York:
Routledge Taylor & Francis Group.
Kramer, M. and Usher, A. (2011). Work-Integrated Learning and Career-Ready Students: Examining the Evidence.
Toronto: Higher Education Strategy Associates.
Ministry of Education, Ontario. (2000). Cooperative Education and Other Forms of Experiential Learning: Policies and
Procedures for Ontario Secondary Schools. Ministry of Education, Ontario, Canada.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-28

How to Cite

Share |