ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติต่อการเรียนวิชานาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่ส่งผล, เจตคติต่อการเรียนบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติต่อการเรียนวิชานาฏศิลป์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 355 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับซึ่งมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ปัจจัยการเรียนวิชานาฏศิลป์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนนาฏศิลป์กับนักเรียน บุคลิกภาพของครูนาฏศิลป์ สภาพแวดล้อมในโรงเรียน สื่อและอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอน หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน ปัจจัยที่อยู่ในระดับที่ปานกลางคือ สภาพแวดล้อมในชุมชน สำหรับเจตคติในการเรียนวิชานาฏศิลป์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 อยู่ในระดับมาก
- 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติต่อการเรียนวิชานาฏศิลป์(Y) ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นคือ ปัจจัยสภาพแวดล้อมในชุมชน (X2) บุคลิกภาพของครูนาฏศิลป์ (X3) สื่อและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน (X6) และความสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนนาฏศิลป์กับนักเรียน (X7) สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของเจตคติต่อการเรียนวิชานาฏศิลป์ได้ร้อยละ 57.00 เขียนสมการพยากรณ์ ดังนี้
= 0.47 + 0.23X2 + 0.18X3 + 0.43X6 + 0.63X7
และเขียนสมการพยากรณ์คะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
= 0.26ZX2 + 0.18ZX3 + 0.43ZX6 + 0.64ZX7
References
Panya-in. T. (2008). The teaching of music theory, music’s teacher in Secondary School, Burirum, Province.
Thongkeattisak. W. (2015). Environmental Factors Safety factor and the motivation to work. Affecting the quality of working life of employees and support units’ Saha-reung sugar factory, Co., Ltd. Mukdahan province: Bangkok University
Sangprathipthong. W. (2001). Attitudes: the concept Measurement method and measurement. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Univerity Press.
Reunnarong. S. (2010). Factors that affect attitudes toward the physical education In Elementary School, student's Kasetsart University laboratory school. Center of Research and Education Development, Chatuchak. Bangkok.
Sanwang. S. (2016). The interaction between teacher and student behavior in the school environment. Of learning in physics class and attitude about science student. Grade 6. Mahasarakham University.
Sirisamphan. O. (2007). To study the behavior of students. Research faculty of Education, Silpakorn University.
Sadarat. A. (2013). The environment in the schools of schools affiliated with Bangkok. Ratchathewi Office. Srinakharinwirot University.