องค์ประกอบและสถาปัตยกรรมระบบของระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอน ด้วยการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • กฤตย์ษุพัช สารนอก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

สถาปัตยกรรมระบบ, ระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัล, นักศึกษาวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบของระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัล 2) ออกแบบและกำหนดองค์ประกอบของระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู และ 3) ออกแบบสถาปัตยกรรมระบบของระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลฯ โดยจากผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบระบบนิเวศประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ (1) Digital Learning Ecosystem ซึ่งประกอบด้วย Digital Learning Environment และ Digital Storytelling, (2) Digital Storytelling Learning Ecosystem และ (3) Digital Storytelling Learning & Teaching Community ผลการศึกษาข้อ 2) การกำหนดองค์ประกอบของระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูประกอบด้วยผู้ที่มีหน้าที่ คือ (1) ด้านการสอน การให้ความรู้และให้คำปรึกษาดูแล คือ อาจารย์ผู้สอน, อาจารย์ฝ่ายสนับสนุนด้านไอที, อาจารย์ที่ปรึกษา, อาจารย์นิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู/ ครูนิเทศและครูพี่เลี้ยง (2)  ด้านการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้จากอุปกรณ์ดิจิทัลและการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้เรียนสามารถควบคุมเรื่องเวลา สถานที่ และทิศทางการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งในการเรียนผู้เรียนจะมีโอกาสมีส่วนร่วมในการเรียน ได้ร่วมนำเสนอชิ้นงานของตนเองผ่านการเล่าเรื่องดิจิทัล ทำให้ผู้เรียนได้เห็นศักยภาพของตนเอง มีทักษะในการค้นหาข้อมูล การเล่าเรื่องราว การวิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล เกิดทักษะการสื่อสาร การนำเสนอ การจัดระเบียบความคิด การคิดตั้งคำถาม และการทำงานเป็นทีม การตระหนักถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต (3) ด้านการสนับสนุน คือ ส่วนที่คอยช่วยเหลืออยู่เบื้องหลัง คอยดูแลให้คำปรึกษา และให้กำลังใจในการเรียนทั้งในชีวิตจริงและการเรียนรู้ในระบบนิเวศดิจิทัล โดยในส่วนนี้ได้แก่ กลุ่มเพื่อน พ่อแม่ และผู้ปกครอง และผลการศึกษาข้อที่ 3) สถาปัตยกรรมระบบฯ ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ด้วยการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลในระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลที่ใช้สำหรับจัดการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วยตัวระบบ DTL-ecoLMS  และระบบ Cloud Service Provider และรวมถึง Digital Learning Environment ต่าง ๆ ในระบบนิเวศดิจิทัล   

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). [ออนไลน์]. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้า
ปี). [สืบค้นวันที่ 22 พฤษภาคม 2559]. จาก http://www.mua.go.th/users/tqf- hed/news/FilesNews /FilesNews6/ education5year_m1.pdf
นิมารูนี หะยีวาเงาะ, ปณิตา วรรณพิรุณ, ณมน จีรังสุวรรณ. (2555). เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการ
เรียนรู้ตามอัธยาศัยใน สังคมพหุวัฒนธรรม วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 23 ฉบับที่ 3 ก.ย. - ธ.ค. 2555.
อนุชิต อนุพันธ์. (2558). การพัฒนาระบบการจัดการความรู้ด้วยเทคนิควิศวกรรมความรู้บนสภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ เพื่อ
ส่งเสริมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีการศึกษา 2558.
Aline Gubrium and K.C. Nat Turner. “Digital Storytelling as an Emergent Method for Social Research and
Practice”. Aline Gubrium on 04 June 2014. pp. 469-491.
Bangkok Today News. (2017). “King Rama X” with Education & Royal Guidance. [Online]. http://bangkok-
today.com/web/qi7pt
Bernard R. Robin. “The Power of Digital Storytelling to Support Teaching and Learning”. Digital Education
Review - Number 30, December 2016. pp. 17-29.
sssssssss. “The Educational Uses of Digital Storytelling”. University of Houston. pp. 1-8. [Online].
https://digitalliteracyintheclassroom.pbworks.com/f/Educ-Uses-DS.pdf
Halah Ahmed Alismail. “Integrate Digital Storytelling in Education”. Journal of Education and Practice.
Vol.6, No.9, 2015. pp. 126-130.
Irene Karaguilla Ficheman, and Roseli de Deus Lopes. “Digital Learning Ecosystem: Authoring,
Collaboration, Immersion and Mobility”. Eighth IEEE International Conference on Advanced Learning Technologies. 2018.
Ismar Frango Silveira3, Xavier Ochôa6, Alex Cuadros-Vargas7, Alén Pérez Casas8, Ana Casali1, Andre
Ortega6, Antonio Silva Sprock2, Carlos Henrique Alves3, Cesar Alberto Collazos Ordoñez10, Claudia Deco1, Ernesto Cuadros-Vargas7, Everton Knihs3, Gonzalo Parra9, Jaime Muñoz-Arteaga4, Jéssica Gomes dos Santos3, Julien Broisin5, Nizam Omar³, Regina Motz8, Virginia Rodés8, and Yosly Hernández C. Bieliukas2. “A Digital Ecosystem for the Collaborative Production of Open Textbooks: The LATIn Methodology”. Journal of Information Technology Education: Research Volume 12, 2013. pp. 225-249.
Joe Lambert and Kimmo Vänni. (2010). “Digital Storytelling COOKBOOK”. Center for Digital Storytelling.
January, 2010. pp. 1-40.
Jorge Reyna. “Digital Teaching and Learning Ecosystem (DTLE): A Theoretical Approach for Online Learning
Environments”. Proceedings ascilite 2011 Hobart: Concise Paper. pp. 1080–1088, 2011.
Kimmo Vänni. “Storytelling Seven steps”. TAMK/Paja. October, 25, 2017. pp. 1-24. [Online].
https://research.uta.fi/innovaatiokausi/wp-content/uploads/sites/28/2017/08/Digital-Story-Telling.pdf
Kritsupath Sarnok, Panita Wannapiroon, and Prachyanun Nilsook. (2019). Digital Learning Ecosystem by
Using Digital Storytelling for Teacher Profession Students. International Journal of Information
and Education Technology (IJiET), Vol. 9, No. 1 January 2019. pp. 21-26.
K. Sarnok, “IoE Links Everything to Smart Classroom 4.0”. Presented at the National Academic Conference
on Education 3th “NACE 2017: Innovation of learning” Meeting, Lampang, Thailand, July 29, 2017.
K. Sarnok., and P. Wannapiroon, “Connectivism Learning Activity in Ubiquitous Learning Environment by
Using IoE for Digital Native” Veridian E-Journal International (Humanities, Social Sciences and Arts), Vol. 11 No. 4, pp. 405-418, January-June 2018.
Lambert, J. (2007). Digital Storytelling: Capturing lives creating community. Berkeley, CA: Digital Diner Press.
Mamie Marcuss, Ismar Frango Silveira and Other. “Digital Storytelling as a Community Development Strategy”. Federal Reserve Bank of Boston. pp. 9-13.
Mart Laanpere, Kai Pata, Peeter Normak, and Hans Põldoja. “Pedagogy-daiven Design of Digital Learning
Ecosystems”. Computer Science and Information Systems 11(1): pp. 419–442.
Michael Carrier & Highdale Learning. “Digital Learning Trends 2017–2020”. QLS 2017, Thessalonica. Pp. 1-
61, 2017.
Office of the Education Council. (2018). Teacher guide: Royal Guidance Her Royal Highness Princess Maha
Chakri Sirindhorn Congratulate to Graduate School Teachers Nationwide 1983. [Online]. http://www.onec.go.th/index.php/book/BookView/610
Phumeechanya, N., Wannapiroon, P., & Nilsook, P. “Ubiquitous Scaffolding Learning Management System”.
National Conference on Educational Technology 2015: NCET 2015, Jan 2015. pp. 22-33.
P. Wannapiroon. “Information Technology and Educational Innovation”. Faculty of Industrial Education,
King Mongkut's University of Technology North Bangkok. 2016. pp. 159-161.
5thlogic. (2019). Learning Analytics & xAPI Consulting. [Online]. https://www.5thlogic.com/consulting

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-25

How to Cite

Share |