การศึกษาสมรรถนะที่เป็นจริงและสมรรถนะที่คาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษา ตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, ผู้บริหาร, มาตรฐานวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะที่เป็นจริงของผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา2) ศึกษาระดับสมรรถนะที่คาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา 3) เปรียบเทียบสมรรถนะที่เป็นจริงและสมรรถนะที่คาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 123 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับสมรรถนะที่เป็นจริงตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ระดับสมรรถนะที่คาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะที่เป็นจริงและสมรรถนะที่คาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา ดังนี้ 3.1 ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีสมรรถนะที่เป็นจริงตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภาแตกต่างกันทั้งภาพรวม และรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.2 ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขนาดสถานศึกษาแตกต่างกัน มีสมรรถนะที่เป็นจริงและสมรรถนะที่คาดหวังตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภาไม่แตกต่างกันทั้งภาพรวม และรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2555). การควบคุมการวัดประเมินผลการจัดการเรียนรู้.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คุรุสภา สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2560). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา.
ตฤณศิษฐ์ ราชนิยม. (2553). ความต้องการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สํานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
รําไพพรรณี.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการศึกษาและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
เทื้อน ทองแก้ว. (2550). สมรรถนะ (Competency) : หลักการและแนะแนวปฏิบัติ.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ประมา ศาสตระรุจิ. (2550). การพัฒนาเกณฑ์สมรรถนะในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารศูนย์เทคโนโลยี
ทางการศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน. ดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษาผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
พรพิศ อินทะสุระ. (2551). สมรรถนะของผูบริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต
(การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
ไพบูลย์ ไชยเสนา. (2550). สมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนฝึกอาชีพ กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักพัฒนา
สังคม กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริจันทร์ พลอยกระโทก. (2551). สมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุรวุฒิ ยัญญลักษณ์. (2550). การพัฒนาสมรรถนะเพื่อเพิ่มประสิทธิผลขององค์การ โดยเน้นการศึกษาสมรรถนะของ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
(การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 4. (2559). การจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. นครราชสีมา : กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครราชสีมา เขต 4.
ภาษาอังกฤษ
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). "Determining Sample Size for Research Activities". Educational and
Psychological Measurement. 30(3) : 607-610.