การศึกษาผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องภาคตัดกรวย ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5STEPs)

ผู้แต่ง

  • สุนิษา ศิริสุข คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1)  เพื่อเปรียบเทียบผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องภาคตัดกรวยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการใช้กระบวนการเรียนรู้

5 ขั้นตอน (5STEPs)  2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์  เรื่องภาคตัดกรวย  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  หลังการใช้กระบวนการเรียนรู้  5 ขั้นตอน(5STEPs)กับเกณฑ์ร้อยละ 70  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องภาคตัดกรวย โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้  5 ขั้นตอน(5STEPs)   ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนลำทะเมนไชยพิทยาคม  ปีการศึกษา  2561  จำนวน  2  ห้อง  รวม  72  คน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2  โรงเรียนลำทะเมนไชยพิทยาคม  ที่ศึกษาในภาคการศึกษาที่  2  ปีการศึกษา  2561  จำนวน  37  คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster  Random  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้  5  ขั้นตอน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง  ภาคตัดกรวย  แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบค่าที  (t-test)

 

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภาคตัดกรวย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการใช้กระบวนการเรียนรู้  5  ขั้นตอนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ  70  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน

อยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

References

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). แนวทางการประเมินผลด้วยทางเลือกใหม่ตามหลักสูตรการศึกษา

ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ .

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนลำทะเมนไชยพิทยาคม. (2561). หลักสูตรกลุ่มสาระ

การเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนลำทะเมนไชยพิทยาคม พุทธศักราช 2561 ตามหลักสูตร

แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. นครราชสีมา : โรงเรียนลำทะเมนไชย

พิทยาคม.

คณิต ดวงหัสดี. (2537). สุขภาพจิตกับความพึงพอใจในงานของข้าราชการตำรวจชั้น ประทวน

ในเขตเมืองและเขตชนบท ของจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จินตนา พรพิไลพรรณ. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนในวิชาเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ 1.

รายงานการวิจัย วิชาเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัย

รามคำแหง.

ชญานิศ ดวงรระหว้า. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 STEPs

เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและ

วัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาสารคาม :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทวีป อภิสิทธิ์. (2556). สอนเป็น สอนดี สอนเก่ง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท

วี.พริ้นท์

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:

สุวีริยาสาส์น.

พงษ์พันธ์ พงษ์. (2542). พฤติกรรมกลุ่ม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.

พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิรุณโปรย สำโรงทอง ( 2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียน

ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับการจัดการเรียนรู้

โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต กศ.ม.(การมัธยมศึกษา), กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

พิริยพงศ์ เตชะศิริยืนยง. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนแบบสืบสวนสอบสวนโดยใช้เกมคณิตศาสตร์

เรื่อง การให้เหตุผล. สารนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต กศ.ม. (การมัธยมศึกษา),

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เพ็ญพักตร์ ช่วยพันธ์, อารี สาริปาและสุพัฒน์ บุตรดี. (2560). ผลของการใช้กระบวนการเรียนรู้ 5

ขั้นตอนที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 17(20) : 163.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2535. เอกสารการสอนชุดวิชาองค์การและการจัดการงานบุคคล.

นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ยงยุทธ อังคสัญลักษณ์. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้กระบวนการ

ขั้นที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทัศนคติการเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวดี รางชัยกุล. (2556). การวัดผลและการสร้างแบบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). ความพึงพอใจ. ในพจนานุกรมฉบับราชบัฌฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.

กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์.

รำพรรณ จันทวิวัฒน์. (2546). แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ 1. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

วัชรี กาญจน์กีรติ. (2554). การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). เพชรบุรี : คณะ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

วิจารย์ พานิช. (2555). วิธีการสร้างความรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1).

กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศิริ – สฤษดิ์วงศ์.

วิจิตรา อุปการนิติเกษตร. (2540). พิชิตคณิตศาสตร์ กลยุทธ์สู่ความเป็นเยี่ยมในการเรียน

คณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา

วิชชุดา คัมภีร์เวช. (2556). ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ที่มีต่อการจัดการสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์และเทคโนโลยี สารสนเทศ. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิชิต เทพประสิทธิ์, รัชฎา เทพประสิทธิ์, กำธร หมวกกุลและหาญศึก เล็บครุฑ. (2560).

การจัดการเรียนรู้ กระบวนการการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนโดยใช้สื่อ eDLTV เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ วิชากลุ่มสาระคณิตศาสตร์, วารสารการวิจัย กาสะลองคำ. 11(3) : 160.

ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน. (2556). การวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กาฬสิน:

มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสิน.

ศรีบุตร แววเจริญและชนศักดิ์ บ่ายเที่ยง. (2544). คณิตศาสตร์วิศวกรรมและวิทยาศาสตร์.

กรุงเทพฯ : บริษัท วงตะวัน จำกัด.

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา. กาฬสิน : ประสานการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4. (2552). รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษา

ขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2552. ขอนแก่น : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขต 31. (2561). รายงานสรุปผลการทดสอบ

ระดับชาติ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560. นครราชสีมา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต31.

สิริพร ทิพย์คง. (2544). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์. พิมครั้งที่ 1. ศูนย์พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ

กระทรวงศึกษาธิการ.

สุจิรา มุสิกะเจริญ. (2542). การเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเส้นขนานและความคล้ายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้และไม่ใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ทางเรขาคณิต. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การศึกษาคณิตศาสตร์). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวจี แตงอ่อน. (2558). ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

แห่งชาติจากการพัฒนาบทเรียนร่วมกันโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน, วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 31(2), 14.

สรชัย พิศาลบุตร. (2553). การสร้างและประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม. กรุงเทพฯ :

บริษัทจูน พับลิซซิ่ง จำกัด.

อุบล กลองกระโทก. (2542). แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ 1 . กรุงเทพฯ : ภาควิชา

คณิตศาสตร์และสถิติคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา

Al-Halal, Ahmad J. (2001,November). The Effect of Individualistic Learning and

Cooperative Learning Strategies on Elermentary Students’ Mathematics

Achievement 32 and Use of Social Skills. Dissertation Abstracts International. 62(5), 183 – A.

Andrew, M. Ray and Paul M. Beardsley. (2008). Overcoming Student

Misconceptions about Photosynthesis : A Model-and Inquiry-Based Approach Using Aquatic Plants. Science Activities. 45(1), 13-22.

Hornby, A. F. (2000). Advance learner's dictionary (6th ed.). London, England:

OxfordUniversity.

Prescott, Banial A. (1961). Report of Conference on Child Student. Education

Bulletin. Bangkok : Faculty of Education. Chulalongkorn University.

Quirk, R. (1987). Longman dictionary of contemporary English (2nd ed.). London, England: Richard Clay Ltd.

Wilson, James W. (1971). Evaluation of Learning in Secondary School Mathematics.

In Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-05

How to Cite

Share |