การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ตามการรับรู้ของครูผู้สอน

ผู้แต่ง

  • ปาลิดา ธนะกุลภาคิน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • วรสิทธิ์ รัตนวราหะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

หลักธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ตามการรับรู้ของครูผู้สอน และ 2) เปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ตามการรับรู้ของครูผู้สอน โดยจำแนกข้อมูลพื้นฐานของครูประกอบด้วย วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 308 คน สถานศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 127 แห่ง โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือได้ค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามที่ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างใช้ t-test, F-test และพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การเปรียบเทียบวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé’s Method)           ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ของครูผู้สอนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรก คือด้านหลักประสิทธิผล รองลงมาคือด้านหลักประสิทธิภาพ และด้านหลักภาระรับผิดชอบตามลำดับ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากลำดับสุดท้ายคือ ด้านหลักการกระจายอำนาจ และ 2) ครูผู้สอนที่มีวุฒิการศึกษาที่ต่างกัน มีการรับรู้สภาพการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมไม่แตกต่างกัน ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษาที่ต่างกัน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กวี เจ๊ะหมัด. (2555). พฤติกรรมการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, นครศรีธรรมราช.

จักรพรรดิ วะทา. (2556). หลักวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

ชยุททร ชูหนู. (2556). การรับรู้ของครูต่อการบริหารงานตามหลักธรรมมาภิบาลของผู้บริหาร (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ณรงค์ บำรุงวงศ์ และจิณณวัตร ปะโคทัง. (2558). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลผู้บริหารตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3.วารสารวารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 15(3), 105-115.

ทักษิณา เหลืองทวีผล. (2551). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.

ประชา ศรีหาบุญทัน. (2556). การเปรียบเทียบการรับรู้ของครูต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 (การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

พระมหาลำพึง ธีรปฺโญ (เพ็ญภู่). (2554). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ไพศาล หวังพานิช. (2555). เอกสารประกอบการบรรยายสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครราชสีมา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การ ภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance rating). กรุงเทพฯ: พรีเมียร์ โปร.

เหรียญทอง มีชัย, สุเทพ ทองประดิษฐ์ และมนตรี อนันตรักษ์. (2557). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 4(2), 113-120.

อรุณศรี อ้ายมาศน้อย. (2555). การศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนัหง่รเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1. วารสารการศึกษาและการพัฒนา, 8(2), 85-97.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-10

How to Cite

Share |