การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต่อการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น : ศึกษากรณี อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ธนิกานต์ ศรีจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • อรรถ อภินนท์ธีระศักดา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • อินทุราภรณ์ อินทรประจบ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น 2) ศึกษาระดับของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และ 3) ศึกษาถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนใน อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ จำนวน 381 คน หาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนตามการกระจายข้อมูลของประชาชน อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X} ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับดีมาก 2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X}  = 2.44) และ 3) ความคิดเห็นที่มีต่อแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารองค์กรท้องถิ่น คือ หน่วยงานควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายมากขึ้น มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้ข้อมูลมากขึ้น รวมถึงใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารงานของหน่วยงานอย่างเหมาะสม 

References

จารุภา สังข์สระน้อย, ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ, และจำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์. (2560). การบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 โดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 4(1), 10-19.

ปวัน มีนรักษ์เรืองเดช. (2549). การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการชีวิตพอเพียงตามแนวพระราชดำริ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). ธรรมนูญชีวิต พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

มัลลิกา เขียวหวาน. (2546). การมีส่วนรวมในกิจกรรมการเรียนรู้การเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตจังหวัดอ่างทองและพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

สันสกฤต มุนีโมไนย. (2551). ความรู้ ความเข้าใจและการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต: ศึกษากรณีนักศึกษาปริญญาโท ภาคพิเศษ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2550). การจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีในงานพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โครงการหนังสือโบราณคดีชุมชน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2546). การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2545). รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Barber, J. D. (1972). Citizen Politics (2nd ed). Chicago: Markham.

Cohen, J M. & Uphoff, N. T. (1980). Participation's Place in Rural Development: Seeking Clarity Through Specificity. World Development, 8(3), 213-235.

Krejcie, R. V. & Morgan, E. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Retrieved from https://home.kku.ac.th/sompong/guest_speaker/KrejcieandMorgan_article.pdf

Millbrath, L. W. (1965). Political Participation: How and Why Do People Get Involved in Politics?. Chicago: Rand McNally & Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-10

How to Cite

Share |