การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะทางวิชาชีพของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา
คำสำคัญ:
ตัวบ่งชี้, สมรรถนะทางวิชาชีพ, ครูปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะทางวิชาชีพของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูปฐมวัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1-7 จำนวน 700 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60–1.00 มีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.36–0.74 และค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้สมรรถนะทางวิชาชีพของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 9 องค์ประกอบย่อย 18 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น การจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ การพัฒนาตนเอง จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ และคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ 2) โมเดลโครงสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา โดยมีค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 1.25 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 4 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.869 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.99 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.000 (Chi-square = 1.25 df =4 ค่า P = 0.869 ค่า GFI = 0.98 ค่า AGFI =0.99 ค่า RMSEA =0.000)References
กุญช์ภัสส์ พงษ์พานิชย์. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 3(1), 1–12.
จิรวรรณ กาละดี. (2544). คุณลักษณะของครูปฐมวัยที่พึงประสงค์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). แนวปฏิบัติการบริหารจัดการชั้นเรียนของครูปฐมวัยตามแนวห้องเรียนคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 16(73), 23–30.
ไตรนาถ ศรีจันทร์. (2548). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, เพชรบุรี.
นิติธร ปิลวาสน์. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบและการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 19(1), 82-98.
ประภาพรรณ เอี่ยมสุภาษิต. (2545). ชุดฝึกอบรมครู: ประมวลสาระ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.
พรรณวิภา เสาเวียง. (2549). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาศรีษะเกษ (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
มนัสพร เติมประยูร. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ยนต์ ชุ่มจิต. (2544). การศึกษาและความเป็นครูไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
เยาวมาลย์ วิเศษ. (2558). ปัญหาและความต้องการพัฒนาของครูปฐมวัยโรงเรียนในสังกัดคณะบวชในเขตอัครสังฆมลฑลกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
รัติพร ภาธรธุวานนท์. (2552). การประเมินการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
วันเพ็ญ นันทะศรี. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 8(23), 31–46.
สุธาทิพย์ มีพงษ์. (2560). สภาพและปัญหาการจัดการของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 12(1), 204–213.
สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2551). สถิติการวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ: มิสชั่นมีเดีย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาชาติ (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิค.
อาภารัตน์ ราชพัฒน์. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
Jöreskog, Karl. G., Olsson, Ulf. H., & Wallentin Fan, Y. (2016). Multivariate analysis with LISREL. Berlin, Germany: Spinger.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.