ผลการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาร่วมกับเทคนิคการคิดแก้ปัญหา ในรายวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ที่มีผลต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นิรวิทธ์ เพียราษฎร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา, เทคนิคการคิดแก้ปัญหา, ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา, ความพึงพอใจในการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาร่วมกับเทคนิคการคิดแก้ปัญหา และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาร่วมกับเทคนิคการคิดแก้ปัญหา กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ลงทะเบียนในรายวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จากสาขาวิชาการเงินการธนาคารและสาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 14 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 4.45) 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก มีค่ามีค่าความยากตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.57 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.91 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียน ลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือได้ค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent

          ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาร่วมกับเทคนิคการคิดแก้ปัญหามีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 2) นักศึกษามีความพึงพอใจในการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาร่วมกับเทคนิคการคิดแก้ปัญหา อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}  = 4.47, S.D. = 0.49)

References

เกษมสันต์ สกุลรัตน์. (2560). การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเสมือนภายใต้แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตปริญญาบัณฑิต (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ทิศนา แขมมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8 ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประคอง สุคนธจิตต์. (2562). ทรัพยากรมนุษย์ ยุค 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ, 7, 17-28.

ประภัสสร กลีบประทุม. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กรณีศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา การพัฒนาภาวะผู้นำ และความพึงพอใจต่อการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2561. (น. 474-482). กาญจนบุรี, ประเทศไทย.

ปรียา สมพืช. (2559). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 260-270.

สุคนธ์ สินธพานนท์, วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์, และพรรณี สินธพา. (2552). พัฒนาทักษะการคิด พิชิตการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.

สุพรรณี กัณหดิลก, ตรีชฎา ปุ่นสำเริง, และชุติมา มาลัย. (2562). การออกแบบการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา เพื่อส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้ในภาคปฏิบัติ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39(4), 130-138.

สุวิทย์ มูลคำ. (2551). กลยุทธ์การสอนคิดแก้ปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

Dewey, J. (1976). Moral Principle in Education. Boston: Houghton Mifflin Co.

Weir, J.J. (1974). Problem Solving Everybody’s Problem. The Science Teacher, 41(4), 16–18.

Williams, B. (2005). Case–based learning a review of the literature: Is there scope for this educational paradigm in pre-hospital education?. Emerg Med, 22(8), 577-581.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-10

How to Cite

Share |