ตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของศึกษาธิการจังหวัด

ผู้แต่ง

  • ชัยยะ ทิ้งแสน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สำเริง บุญเรืองรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน, การพัฒนาตนเอง, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของศึกษาธิการจังหวัด และ 2) เพื่อศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานศึกษาธิการจังหวัด ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างศึกษาธิการจังหวัด ปีการศึกษา 2562 จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม 1) การนำนโยบายไปปฏิบัติ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 2) ความสำเร็จขององค์กร ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 3) การพัฒนาตนเองของศึกษาธิการจังหวัด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 4) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของศึกษาธิการจังหวัด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 5) แบบสอบถามการพัฒนาบุคลากรของศึกษาธิการจังหวัด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 6) แบบสอบถามการทำงานเป็นกลุ่มของศึกษาธิการจังหวัด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 7) แบบสอบถามวิสัยทัศน์ของศึกษาธิการจังหวัด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และ 8) แบบวัดพฤติกรรมการบริหารงานของศึกษาธิการจังหวัด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรผัน ค่าสหสัมพันธ์ ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ และค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรที่ส่งผลต่อตัวแปรตาม หรือการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis : PA)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของศึกษาธิการจังหวัด ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของศึกษาธิการจังหวัด ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของศึกษาธิการจังหวัดและการทำงานเป็นกลุ่มของศึกษาธิการจังหวัด

References

กล้า ทองขาว. (2551). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน หน่วยที่ 6. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เกชา มีสวน. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารและประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมตากสินระยอง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

จารุวรรณ อะคะปัน. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.

จุมพล หนิมพานิช. (2554). การประเมินนโยบาย หลักการ แนวคิดและการประยุกต์ใช้. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นภดล ร่มโพธิ์. (2553). การวัดผลองค์กรแบบสมดุล. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปราณี สาไพรวัน. (2558). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116, ตอนที่ 74ก.

พเยาว์ สุดรักษ์. (2553). ศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

มยุรี สนิทกุล. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

รัตนา นาคมุสิก, บรรจง เจริญสุข และวรรณะ บรรจง. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 3(1), 165-184.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2550). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล พ.ศ. 2558 (IMD2015). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุนทร พลวงค์. (2551). การพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่มของบุคลากรในสังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลท่าสะอาด อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สุพาดา สิริกุตตา. (2557). กลยุทธ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กรธุรกิจ : กรณีศึกษาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาคกลางตอนบน (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-28

How to Cite

Share |